วันเสาร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2553

สรุปประเด็นสำคัญจากการสนทนากลุ่ม World Café Session 4: EESD Mapping

สรุปประเด็นสำคัญจากการสนทนากลุ่ม World Café Session 4: EESD Mapping


กลุ่มผู้เข้าร่วมสนทนา จำนวน ๑๘ คน ประกอบด้วย ครู นักเรียน อาจารย์สถาบันอุดมศึกษา ตัวแทนจากภาครัฐ และองค์กรพัฒนาเอกชน ผู้นำเสวนา (ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล) ได้เปิดประเด็นการสนทนาโดยเชิญชวนให้ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยกำหนดคำถามหลักสำหรับการสนทนาไว้ ๓ คำถาม ได้แก่

- ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ด้วยวิธีการ/แนวทางอย่างไร และส่งผลอย่างไร

- โจทย์ใหม่ๆ หรือประเด็นร่วมสมัยที่ต้องเร่งดำเนินการสำหรับงานสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของไทย

- ‘ชิ้นส่วนที่หายไป’ ของงานสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของไทย คือสิ่งใด



จากการสนทนาพบประเด็นจากเรื่องเล่าต่างๆ ที่น่าสนใจ ดังนี้

๑. กิจกรรมหรือโครงการที่มีการดำเนินการภายใต้แนวคิดของสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน มีความหลากหลาย ทั้งในระดับบุคคล กลุ่มหรือชมรม โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา หน่วยงานหรือองค์กร โดยองค์กรสนับสนุนงบประมาณกิจกรรมหรือโครงการดังกล่าวเป็นองค์กรภายนอก ขณะเดียวกันก็พบว่ามีการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนจำนวนหนึ่งซึ่งเกิดจากความสนใจรายบุคคล จากนั้นจึงขยายขอบเขตเป็นการทำงานของกลุ่มที่ทำงานร่วมกัน เช่น ลุงสอน กล้าศึก คนปลูกต้นไม้ จากจังหวัดชัยภูมิ ผู้ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียว ประจำปี ๒๕๔๒ หรือ ดาบวิชัย แห่งบ้านขุขันธ์ จังหวัดศีสะเกษซึ่งได้เป็นแบบอย่างและแรงบันดาลใจให้เกิดกลุ่มอาสาสมัครปลูกต้นไม้ขึ้นในหลายพื้นที่

๒. กิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่ยึดโยงกับการศึกษาในระบบโรงเรียน เช่น กรณีของโรงเรียนเบ็ญจมะมหาราช จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมศึกษามาอย่างยาวนาน และปัจจุบันเข้าร่วมในโครงการโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Eco-School แม้จะยังมีกิจกรรมในลักษณะรณรงค์ลดการสร้างขยะ และทำความสะอาดเป็นหลัก แต่จุดแข็งที่สำคัญยังอยู่ที่การส่งต่อการทำงานระหว่างนักเรียนรุ่นพี่รุ่นน้องที่ดำเนินต่อเนื่องมามากกว่าสิบปี ในรูปแบบของกิจกรรมชมรม นอกจากนี้โรงเรียนยังได้สนับสนุนให้มีการเชื่อมต่อกับงานจิตอาสาในโครงการโรงเรียนพี่/โรงเรียนน้องอีกด้วย ส่วนกรณีการพัฒนาหลักสูตรบูรณาการและชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพ และสารปราบศัตรูพืช ของ โรงเรียนในจังหวัด ซัยธานี ส.ป.ป.ลาว ร่วมกับมูลนิธิการศึกษาไทย นับเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการทำงานที่กำหนดโจทย์ตามบริบทและความต้องการของชุมชน ซึ่งก่อให้เกิดการขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลง ปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐได้พิจารณาขยายผลการใช้หลักสูตรบูรณาการดังกล่าว

๓. กิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ในมิติของงานด้านการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นกรณีจากคำบอกเล่าของผู้เข้าร่วมประชุมจากมูลนิธิสืบ นาคะเสถียร ซึ่งหยิบยกเรื่องราวความพยายามของชุมชนกะเหรี่ยงบ้านกองมุ่งทะ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ที่เล็งเห็นถึงภูมิปัญญาในการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ ซึ่งถูกถ่ายทอดผ่านนิทานสอนชีวิต และได้ริเริ่มโครงการสอนภาษาเขียนให้กลุ่มเยาวชนในภาคฤดูร้อน เพื่อใช้ในการสานต่อเรื่องเล่าพื้นถิ่น ปัจจุบันโครงการดังกล่าวได้ดำเนินมาแล้ว ๔ ปี จนเยาวชนรุ่นแรกได้เริ่มเข้ามามีบทบาทเป็นผู้สอนรุ่นน้องในโครงการ เรื่องเล่าจากบ้านกองมุ่งทะ ได้สะท้อนให้เห็นมิติของการใช้เนื้อหาของงานด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาเป็นพลังขับเคลื่อนการสร้างความรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของให้เกิดแก่กลุ่มเป้าหมาย จนกลายเป็นการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในที่สุด

๔. สิ่งแวดล้อมศึกษาในกลุ่มเป้าหมายใหม่ ได้แก่ กลุ่มเด็กเปราะบาง (Vulnerable Children) ซึ่งมีโอกาสถูกชักจูงให้เกิดพฤติกรรมเบี่ยงเบน เช่น ก้าวร้าว รังแก หรืออันธพาล ฯลฯ ได้มีกลุ่มความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน สนับสนุนให้เยาวชนกลุ่มนี้ได้ร่วมกิจกรรมจิตอาสาร่วมดูแลชุมชน ซึ่งช่วยให้เด็กกลุ่มดังกล่าวรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง และเห็นคุณค่าของการทำงานในเชิงจิตอาสาที่มีส่วนดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมของชุมชน

๕. สิ่งแวดล้อมศึกษาที่เริ่มจากครอบครัว สถานที่ทำงาน และชุมชนของนักปฏิบัติ เช่น กิจกรรม คืนต้นไม้ที่บ้านเด็ก ของ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กิจกรรมจัดการขยะอย่างมีส่วนร่วมของพนักงาน และบุคคลากร ของ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร ทั้งสองโครงการมุ่งเน้นกิจกรรมที่กลุ่มเป้าหมายสามารถลงมือปฏิบัติได้ทันที และส่งเสริมการมีส่วนร่วมทั้งในการปฏิบัติ และการเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการดำเนินการ

๖. สิ่งแวดล้อมศึกษาที่ดำเนินการโดยการขับเคลื่อนขององค์การพัฒนาเอกชน เช่น มูลนิธิสร้างสรรค์ไทย (ตาวิเศษ) กองทุนสัตว์ป่าโลก ประเทศไทย (WWF) และโครงการลูกโลกสีเขียวของ ปตท. ด้วยประสบการณ์การทำงานที่ยาวนานทำให้องค์กร หรือโครงการดังกล่าวมีชุดความรู้ที่ได้รับการนำมาจัดการเพื่อขยายผลต่อเครือข่าย ผ่านการสื่อสารผ่านช่องทางใหม่ๆ เช่นเวปไซต์ของตาวิเศษที่เน้นให้ผู้เข้าเยี่ยมชมมีปฏิสัมพันธ์ได้มากขึ้น การถักทอเครือข่ายเยาวชนในโครงการลูกโลกสีเขียว ซึ่งเป็นการเสริมพลังให้กลุ่มเยาวชนในพื้นที่ต่างๆ ได้เกิดการรวมตัวเป็นเครือข่ายระดับภูมิภาค และการเปิดพื้นที่ศูนย์ศึกษาระบบนิเวศต่างๆ เช่น ในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง พื้นที่ชุ่มน้ำในเขตภาคอีสานตอนบน พื้นที่ชายฝั่งในเขตอ่าวไทยตอนบน ของ กองทุนสัตว์ป่าโลก ซ฿งเปิดโอกาสให้ความรู้ที่องค์กรได้รวบรวมไว้จากการทำงานภาคสนาม ได้รับการนำเสนอเป็นหลักสูตร และกิจกรรมที่จะเป้ฯประโยชน์ต่อผู้สนใจต่อไป

จากการสนทนาแลกเปลี่ยนเรื่องเล่าที่น่าประทับใจ อาจสรุปแนวโน้มที่น่าสนใจในกรทำงานสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งแสดงให้เห็นถึง “โจทย์การทำงานใหม่” และ ปัจจัยเงื่อนไขที่จัดว่าเป็น “ชิ้นส่วนที่หายไป” ได้ดังนี้

๑.การขยายกลุ่มเป้าหมายในการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมจากเดิมที่เน้นการทำงานเชิงรณรงค์กับโรงเรียน หรือการศึกษาในระบบโรงเรียน มุ่งไปสู่การทำงานร่วมกับชุมชน และการสร้างชุมชนนักปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาที่แตกต่างไปจากเดิม เช่น พนักงานหรือบุคลากรขององค์กร กลุ่มความสนใจในหมู่บ้าน เด็กและเยาวชนกลุ่มเปราะบาง ฯลฯ


๒. การกำหนดโจทย์การทำงาน ซึ่งได้แก่ ประเด็นหรือหัวข้อการเรียนรู้ที่ตอบสนอง “ต้นทุน” ดั้งเดิมในพื้นที่ อันได้แก่ ทุนธรรมชาติ ทุนสังคม ทุนภูมิปัญญา

๓. การพิจารณาถึงกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา ในฐานะกระบวนการเรียนรู้ที่มีลักษณะสำคัญ ๔ ประการ ได้แก่

มีความเป็นองค์รวม (Holistic View) สร้างความรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของ (Ownership-based) เสริมสร้างพลังให้แก่บุคคลและชุมชน (Empowering) และเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม (Participatory)









สรุปและเรียบเรียงโดย ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล

วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553

เก็บความจากโต๊ะเสวนาที่ปรึกษาอีโคสคูล

ขออภัยผู้ติดตามที่ บก.บลอกหายหน้าไปยุ่งภารกิจเรื่องเรียนจนไม่ได้อัพเดตบลอกเกือบเดือนเศษ กลับมาคราวนี้ได้เรื่องที่น่าสนใจหลายเรื่องที่จะทยอยอัพเดตให้ได้ติดตามกันครับ

เริ่มจาก คุณตุ๊ก นันทวรรณ เหล่าฤทธิ์ ได้ช่วยเรียบเรียงประเด็น จากการเสวนาในการประชุมคณะที่ปรึกษาวิชาการโครงการอีโคสคูล ไปเมื่อเดือน ม.ค. ติดตามอ่านกันได้เลยครับ

............................................


สรุปผลการประชุม coaching team


โครงการโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน: Eco-school

ระหว่างวันที่ 17-18 มกราคม 2553 ณ โรงแรมกานต์มณี กรุงเทพฯ





รศ.ประสาน/ มช. (นำเสนอเพื่อเปิดประเด็นการเสวนา)

o การสร้างความรู้ ความเข้าใจของงาน EE และ ESD เพื่อเป็นฐานความรู้ของ coaching team ผ่านเนื้อหา 3A : Awareness Attitude Action

o กระบวนการสร้างปัญญาของมนุษย์ที่จะต้องเกิดขึ้นจากภายใน และการเรียนรู้จากภายนอกจะเป็นการช่วยเติมเต็ม ดังนั้นการทำ Education for all แรกเป็นการมองโรงเรียนเป็นตัวตั้ง และช่วงหลังเป็นการเอาชุมชนเป็นตัวตั้ง ทำให้ระบบมันไม่สามารถเกิดการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนแปลงได้ทันที

ดังนั้นการให้ความรู้อย่างไร โลกจึงจะอยู่รอด เพราะระบบการศึกษาเป็นการเอาความรู้เข้าไปใส่ แต่ไม่ได้ยั่งยืน แต่เป็นการยืดเวลาเพื่อปรับสมดุลใหม่

- มิติของความยั่งยืน คือ ความยั่งยืนในรุ่นนี้และรุ่นหน้า เพื่อให้คนสามารถปรับตัวเองเข้าสู่สมดุล

- การแสวงหากระบวนการที่ยั่งยืนในการทำงานร่วมกับโรงเรียน ท่ามกลางระบบการบริหารจัดการของศธ.ประกอบกับกระบวนการสร้างเด็กและการวัดผลที่ไม่สามารถตอบสนองต่อความยั่งยืนได้ เราจะต้องมีจุดยืนและเป้าหมายการทำงานอย่างไร

- การพัฒนาโรงเรียน Eco-school มีที่มาจาก Scotland ที่กระจายสู่ออสเตรเลียที่สามารถดำเนินการได้ทั้งระบบและทั้งประเทศ ในระดับภูมิภาคของเอเซียที่มองแล้วน่าสำเร็จ คือ เกาหลี ญี่ปุ่นและจีน ที่กระบวนการพัฒนาสามารถเชื่อมโยงระหว่างการเรียนรู้ภายในและภายนอก

o การเรียนรู้ตามแนวทางที่ UNESCO ได้เสนอไว้ประกอบด้วยการเรียนรู้ 4 ประการ คือ

1. Learn to know เรียนรู้เพื่อให้มีความรู้ และมีวิธีการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถนำความรู้ วิธีการเรียนรู้ ที่ได้มาไปต่อยอด แสวงหา หรือผลิตสร้างความรู้ใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

2. Learn to do เรียนรู้เพื่อที่จะทำเป็น หรือใช้ความรู้ไปประกอบอาชีพ และสร้างประโยชน์ให้แก่สังคม

3. Learn to be เรียนรู้เพื่อที่จะเป็นผู้ที่รู้จักตัวเองอย่างท่องแท้ สามารถพัฒนาตนเองได้

4. Learn to live together เรียนรู้เพื่อดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่นๆ ในสังคมได้อย่างมีความสุข และสร้างสรรค์

สิ่งที่น่าสนใจ คือ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นอยู่ในโรงเรียนไม่สามารถสร้างคนเพื่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อโลกอนาคตได้ จึงมีคำถามว่า เพราะอะไร ทำไมเป็นเช่นนั้น....



ผศ.อรรถพล/ จุฬาฯ

สิ่งแวดล้อมศึกษามีส่วนอย่างมากในการช่วยให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างโรงเรียนกับชุมชน โดยอาศัยช่องทางการเรียนรู้ผ่านหลักสูตรและการเรียนการสอน เริ่มจากเด็กไปสู่ชุมชนและในมุมกลับกันอาจเริ่มจากชุมชนมาหาเด็ก การเรียนรู้ตามแนวทางของ EE และ ESD จึงไม่ใช่เพียงตอบโจทย์การเรียนรู้ทั้ง 4 ประการตามที่ UNESCO ได้เสนอไว้ แต่ยังไปถึงระดับของ การเรียนรู้เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หรือ Learning to Transform เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งภายใน และภายนอกตัวผู้เรียน



อ.ดร.อดิศักดิ์ / มมส.

Green school กับ Eco-school แตกต่างอย่างไร และใช่หรือไม่ที่ Green school ส่วนใหญ่จะเน้นการพัฒนาหลักสูตร


ผอ.สาวิตรี/กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

กรณีกรมส่งเสริมคุณคุณภาพสิ่งแวดล้อม ใช้คำว่า Eco-school เพราะรากศัพท์มาจากคำว่าบ้านในภาษากรีกที่ต้องการพัฒนาโรงเรียนให้เหมือนเป็นบ้านของเด็ก ซึ่งแต่ละประเทศก็คงมีหลักคิดของตัวเองอยู่


อ.ดร.อดิศักดิ์/มมส.

คล้ายกับหลักคิด Green school ของกระทรวงศึกษาหรือไม่ ซึ่งจะเป็นการสร้างภูมิทิศน์ แต่ Eco-school คือการสร้างโรงเรียนให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน


รศ.ประสาน/ มช.

Eco-school มีความเชื่อมโยงระหว่าง มิติของการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรธรรมชาติ หรือที่เรียกว่า การพัฒนาที่ยั่งยืน ที่ฐานคิดของมิติเหล่านี้ จะเชื่อมโยงสู่ การตัดสินใจทางการเมือง การสร้างรายได้จากการทำงาน และการอยู่กับการรองรับจากธรรมชาติ

ประเด็นที่สำคัญมาก คือ ประเทศไทยขาดการเชื่อมต่อระหว่างมิติต่างๆ เช่น วิทยาศาสตร์ และสังคม

วัตถุประสงค์ของสิ่งแวดล้อมศึกษา ที่ประกอบด้วย Awareness Knowledge Attitude Skills ซึ่งกระบวนการ EE คือ การเรียนเพื่ออยากรู้ และเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาร่วมกับเพื่อนมนุษย์ ซึ่งหลักการเดียวกับการจัดการความรู้ KM

กระบวนการการเรียนรู้ ของ EE คือ การเรียนรู้ เกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อม, การเรียนรู้ ใน สิ่งแวดล้อม และ การเรียนรู้ เพื่อ สิ่งแวดล้อม

ซึ่งทั้ง 3 ด้าน เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่คล้ายกระบวนการวิจัย ในแบบการวิจัยและพัฒนา (R&D) การเรียนรู้ เพื่อ สิ่งแวดล้อม เป็นเสมือนการเรียนรู้เพื่อคนอื่นๆ ซึ่งนอกเหนือจากมิติของตัวเอง ซึ่งคล้ายกับจริต+จิตวิญญาณ หรือบางครั้งรวมเรียกว่า จิตสำนึก นั้นเอง เป็นการมองข้ามจากตัวเองแล้ว แต่เป็นการมองเพื่อโลกเพื่อคนอื่น เพราะฉะนั้นการสร้างเด็กสำหรบความยั่งยืน จะต้องสร้างให้เด็กเรียนรู้ด้วยตัวเด็กเอง

กระบวนการประเมินผลหรือวัดผล จะต้องใช้กระบวนการด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาเป็นสัญญาณจับ


อ.สุภาดา / มรภ.เพชรบุรี

โรงเรียนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจแก่นของกระบวนการของสิ่งแวดล้อมศึกษา หรือ about / in / for


รศ.ประสาน/ มช.

ต้องมองงาน 2 ระดับ คือ การใช้เป็นประเด็นของการเรียนรู้ กับ ความสามารถเชื่อมโยงให้ดำเนินการและทำได้ทั้งโรงเรียน เพราะเป็นเรื่องของกระบวนการเรียนรู้ แต่ยังไม่เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้


อ.สันติภาพ/ มรภ.อุดรธานี

การทำงานเริ่มจากตรงไหนก็ได้ แต่จะต้องเป็นการทำงานจากเด็ก ไม่ใช่การถูกสั่งให้ทำ และที่สำคัญ คือ การเชื่อมโยงให้สามารถขับเคลื่อนได้ทั้งระบบ และกระบวนการขับเคลื่อนผ่านเด็ก จุดที่เคลื่อนได้ดี คือ การที่ผู้บริหารเห็นด้วย และสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ มีการทำงานเชื่อมต่อกับเครือข่ายของผู้ปกครองและชุมชน


ผศ.อรรถพล/จุฬาฯ

ล่าสุด เมื่อปลายเดือนสิงหาคม ปี 2009 ACCU ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านวัฒนธรรมภายใต้ UNESCO ได้จัดประชุมนักวิชาการด้าน ESD ในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค เพื่อกำหนดวาระการทำงานร่วมกันสำหรับครึ่งทศวรรษหลังของทศวรรษการศึกษษเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน คณะทำงานได้ยกร่างคำประกาศโตเกียว เพื่อให้ที่ประชุมได้พิจารณา และได้ประกาศเป็น ปฏิญญาโตเกียว (Tokyo Declaration) ซึ่งได้หยิบยกประเด็นที่เป็นคุณลักษณะสำคัญของการทำงานด้าน ESD และใช้ตัวย่อว่า H.O.P.E ซึ่งได้แก่

Holistic View การพิจารณาอย่างเป็นองค์รวม

Ownership-based การสร้างสำนึกร่วมเป็นเจ้าของ

Participation การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

Empowerment การเสริมสร้างพลังและความเข้มแข็งแก่กลุ่มเป้าหมาย


ผศ.ดร.เยาวนิจ/ มอ.ภูเก็ต

การมองว่าการตรวจสอบว่าโรงเรียน เป็น Eco-school รึยังนั้น กระบวนการเรียนรู้ของเด็กจะต้องเรียนรู้จากวิถีชีวิตของแต่ละชุมชน


รศ.ประสาน/ มช.

ครูสิ่งแวดล้อมศึกษา จะต้องมีคุณสมบัติ 4 ประการ คือ

1. รักลูกศิษย์

2. มีอุบาย การเป็นผู้ประสานสิบทิศ

3. ใฝ่หาความรู้

4. เป็นนักจัดการความรู้


- ESD ของประเทศไทยมีแผนแม่บทและยังไม่ได้นำมาใช้อย่างแท้จริง ซึ่งในอาเซียนพยายามบูรณาการเรื่อง ESD เข้าสู่ระบบของสังคมไทยอย่างแท้จริง

- นโยบายสาธารณะ ที่ระบบโครงสร้างทางอำนาจในเชิงนโยบายไม่มีประสิทธิภาพเข้ามาเกี่ยวข้องกับระบบการศึกษาของไทย เป็นเรื่องที่น่าเศร้ามาก เพราะการผลักดันเชิงนโยบายอยู่ในสภาพที่ติดลบ การมองเรื่อง ESD ยังมองเป็นเช่นงานฝากอยู่

- การสร้างความร่วมมือของเครือข่ายมีข้อจำกัด

- โครงสร้างการบริหารงานในระบบราชการไทยเกิดความล่าช้า

- หัวใหญ่ทางการเมืองของการผลักดันนโยบายสาธารณะไม่ผลักดันนโยบายให้ชัดเจน

- ทักษะการจัดกิจกรรมและการบริหารหลักสูตรยังขาดการมองภาพรวม

- การขาดความตระหนักเพื่อเรียนรู้เรื่อง ESD อย่างจริงจัง ในเชิงนโยบาย

- รูปแบบการกระจายอำนาจและรวมศูนย์ของนโยบายรัฐขาดประสิทธิภาพในหลายหน่วยงาน

- การหาเรียนรู้และค้นคว้าหาความรู้ในเชิงลึกเรื่อง ESD ที่แท้จริง ซึ่งเป็นการเรียนรู้

ด้วยตนเอง ผ่านงานวิจัย

- มีหลายพื้นที่อยากทำโรงเรียนประชาบาลเป็นหลักการ เพื่อให้กระบวนการทำงาน

ในโรงเรียนทั้งระบบสามารถทำได้

- ESD เป็นเรื่องของมุมมองในการประยุกต์ใช้ และทำงานร่วมกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ

- การจัดฝึกอบรมที่เติมเต็มวิธีการมากเกินไป แต่ขาดการเตรียมเต็มวิธีคิด

- การมีความหลากหลายของ Coacher ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และทำงานที่หลากหลาย ซึ่งยังขาดความเป็นเอกภาพขององค์ความรู้ ยังไม่ได้ถูกการสังเคราะห์

- โรงเรียนที่ผ่านกระบวนการมักจะผ่านระบบการประเมินของ สมศ. ในระดับดีถึงดีมาก

- ระบบการบริหารโรงเรียนในเมืองไทยไม่เอื้อให้เกิดกระบวนการพัฒนาโรงเรียนที่แท้จริง

- องค์ความรู้ที่ควรต้องรู้

+ การจัดหลักสูตรการเรียนรู้ในโรงเรียน

+ จิตวิทยา และโครงสร้างการเรียนรู้ของมนุษย์ BBL

- การวัดผลการเรียนรู้ที่มองจาก Productive Oriented แทนการวัดแบบเดิม ซึ่งจะเป็นผู้เรียนเป็นคนบอกว่าตนเองรู้อะไรจากการสื่อสารหรือกระบวนการเรียนรู้

- การเชื่อมโยงความรู้เพื่อทราบความเคลื่อนไหวของ EE และ ESD

- กระบวนการสร้าง Coacher ที่ต้องรู้จริง รู้ลึก รักงาน เพื่อที่จะได้ลงลึกในงานร่วมกัน

- การทำ Node Cooperative Function ที่ไม่ได้ทำหน้าที่จัดการแต่จะเป็นกระบวนการที่ให้และส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้เพื่อทำงานร่วมกัน

- การใช้กระบวนการวิจัยเพื่อหาตัวตน หาความรู้ เพื่อทำงานเป็นทีม

- ในระดับกรมฯ ควรทำการฝึกอบรมเชิงนโยบายมากกว่าการทำฝึกอบรมปกติ

- การเอาสื่อสารมวลชนมาร่วมสร้างกระบวนการเรียนรู้

- เสนอแผนปี 53 การฝึกอบรมควรทำตั้งแต่ระดับนโยบาย ผู้ปฏิบัติการ(ผอ.+ครู) NGOs

ผู้ประสานงานระดับ Node เพื่อเป็นทีมการบริหารงานต่อ

- การกระจายตัวของโรงเรียนที่ควรมีครบทุกจังหวัดและอยากเห็นว่า สองปีจะมีครบทุก สพท. การพัฒนา Coacher

- การตั้งงบผูกพันเพื่อทำแผนการทำงานทั้งห้าปี ไม่รอคอยงบแผ่นดิน

- การตั้งงบภายในมหาวิทยาลัย เป็นไปได้ไหม ซึ่งจะต้องกับภารกิจของการส่งเสริมวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม หรือการสร้างเป็นรายกรณี

- การทำ MOU กับมหาวิทยาลัย หรือใส่ในชุดวิจัยของ วช. ซึ่งจะได้งบประมาณระยะยาว 5 ปี


ผศ.อรรถพล/จุฬาฯ

- การจัดค่ายเด็กเพื่อถอดบทเรียนจากการทำงานโครงการอีโคสคูลที่ผ่านมา ภาพรวมของการออกแบบกิจกรรมนั้น พยายามเน้นกิจกรรมที่เด็กลงมือทำเพื่อเรียนรู้ ขณะเดียวกันก็อาศัยการสังเกตสิ่งที่เด็กทำเป็นร่องรอยในการถอดประสบการณ์และพิจารณาถึงต้นทุน/ความเปลี่ยนแปลงที่เด็กๆ มีอยู่

ในการจัดค่ายได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายที่เป็นทุนเดิม คือ ทีมงานจาก WWF และตาวิเศษ เนื้อหาของการทำกิจกรรมมีตั้งแต่กระบวนการเรียนรู้จากตัวเด็ก (ตัวเอง) ไปสู่ระดับของชุมชนนิเวศที่ใหญ่ขึ้น (เช่น ลุ่มน้ำ) และนำเสนอตัวอย่างของโรงเรียนที่ทำงานคล้ายคลึงกับ Eco-school ทั้งในและต่างประเทศ เช่น กรณีตัวอย่างจากมาเลย์เซีย กรณีตัวอย่างโรงเรียนสิ่งแวดล้อมจากโครงการอื่นๆ


อ.สันติภาพ/มรภ.อุดรธานี

พัฒนาการของโครงการและกระบวนการเรียนรู้ของโครงการ และกระบวนการทำให้เกิดความยั่งยืนของงาน เพื่อต่อยอดจากงานเดิม

- การตั้งงบประมาณในการทำงานที่ผ่านมา เพื่อตั้งงบประมาณรองรับโครงการฯ เพราะมีหน่วยงานของโรงเรียนต่างสังกัดเช่น สังกัด อปท. ก็พร้อมที่จะสนับสนุนงบประมาณ

- ได้เรียนรู้จากการทำงานทั้งกระบวนการสอน การเรียนรู้ข้อจำกัดของโรงเรียน การเรียนรู้ว่าประเทศไทยยังมีครู ผู้บริหารดีๆอยู่มากในสังคมไทย การเห็นเด็กที่มีศักยภาพในการเรียนรู้และทำงานในวิถีชีวิต และมองเห็นครูเสียเวลากับการสอนหนังสือ แต่ไม่ได้สร้างกระบวนการเรียนรู้แก่เด็ก และโรงเรียนยังไม่มีการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ได้ปฏิบัติจากการมองเห็นเวลาลงพื้นที่ การเรียนรู้กับชุมชนที่มีผู้รู้มาก หลายสิ่งหลายอย่างที่ชุมชนมีนั้นยังไม่เท่าทันกับการเคลื่อนไหวของโครงการพัฒนาจากภาครัฐ การมีเพื่อนจากการทำงาน และการเห็นเด็กมีเพื่อนจากการโครงการ

- การมองตนเองว่า จะต้องเรียนรู้อะไรอยู่มาก และมองการเชื่อมโยงมาสู่ระบบการจัดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย


ผศ.อรรถพล/จุฬาฯ

- จากการคลุกคลีอยู่กับเครือข่ายของโครงการโรงเรียนอีโคสคูลมา ๒-๓ ปี ช่วยทำให้มองเห็นภาพของอีโคสคูลและงาน EE ชัดมากขึ้น ไม่ใช่เพียงการจับภาพไปที่ส่วนใดส่วนหนึ่ง แต่เห็นองค์รวมจากการทำงานของครูและเด็ก มองเห็นศักยภาพของเด็กในฐานะผู้นำความเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจน เช่นกรณีเด็กนักเรียนที่ ร.ร.ตาคลีฯ จ.นครสวรรค์ ได้แรงบันดาลใจในการทำงาน EE จาก Idol ที่เป็นนักเรียนรุ่นพี่แกนนำสิ่งแวดล้อม ภายในโรงเรียน และยังได้พบเจอครูอาจารย์อีกหลายคน ที่มองเห็นความศักดิ์สิทธิ์ในการเรียนรู้ของเด็ก ขณะเดียวกันก็ได้พบข้อสังเกตว่ายังมีโรงเรียนอีกหลายโรง ที่มีความทุ่มเทพยายาม ทำงานมากแต่กลับได้งานน้อย ซึ่งเป็นโจทย์ที่ต้องมาช่วยกันขบคิดต่อไป


อ.เยาวนิจ/มอ.ภูเก็ต

- มองเห็น กระบวนการทำงานของครู ภายในโรงเรียนที่สร้างการเปลี่ยนแปลงภายในโรงเรียน เช่น รร.ธรรมวิทยามูลนิธิ มองเห็นว่า กระบวนการทำงานของโรงเรียนที่สามารถเคลื่อนและเปลี่ยนแปลงได้ด้วยตนเอง

- การทำงานได้เรียนรู้มากทั้งที่ไม่ได้จบด้านสิ่งแวดล้อมศึกษา อยากถ่ายโอนงานไปที่อื่นเพราะไม่มีนักศึกษาทำให้มีข้อจำกัดอยู่มาก


ผศ.รนิดา/ มรภ.เชียงราย

- มีข้อสังเกตเกี่ยวกับกรอบของ Whole School Approach บางครั้งการไม่มีกรอบในการทำงานและการไม่กำหนดกรอบตายตัวในการทำงานให้โรงเรียนดู อาจจะช่วยให้สิ่งที่เป็นตัวตนของโรงเรียนฉายภาพออกมาได้

- จากการมาประชุมคราวนี้มีแผนของการทำงานสิ่งแวดล้อมศึกษาและการศึกษาสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งงานจริงในภาคสนามชัดเจนมากขึ้น กระบวนการทำงานที่กำลังออกนอกมหาวิทยาลัยเพื่อเรียนรู้ และไม่อยากให้มีการกอดติดกับความหมายของคำ เพราะเป็นเพียงเส้นทางหนึ่งเท่านั้น และไม่ยึดติดกับชื่อของคำหรือความหมายเท่านั้น แต่จะมองภาพของความเป็นเจ้าของร่วมกันในการทำงาน เพราะทุกคนมีความสุขในการทำงาน และอยากให้ลองลงมือทำ


อ. ธันวา/มรภ.กาฬสินธุ์

มองกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษา ใน 2 ระดับ คือ กิจกรรมสิ่งแวดล้อมแบบที่เป็นอยู่ หรือขยายออกมาในระดับเพื่อชุมชน


ผอ.สาวิตรี/กรมส่งเสริมฯ

มองว่า ยังไม่มีวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา แต่สิ่งแวดล้อมศึกษาคือการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับเด็กเท่านั้น แต่เป็นสิ่งแวดล้อมศึกษาที่เข้าใจในบริบทของการเปลี่ยนแปลงของโลก และเด็กมีความเข้าใจในการใช้ชีวิตให้เข้ากับสมดุลของโลก


รศ.ประสาน/มช.

การวัดผลงานของเด็กจากคุณลักษณะมากกว่าการวัดความรู้ การวัดผลอาจจะไม่ได้มองจากตัวเราเป็นตัววัด แต่สังคมหรือชุมชนเป็นตัววัดแทน


อ.บุญเชิด/ม.บูรพา

- การใช้เครื่องมือของสิ่งแวดล้อม เข้ามาช่วยให้เกิดการเข้าถึงเพื่อเชื่อมโยงกับการดำเนินชีวิต มีสมมติฐานว่าทุกคนมีสำนึกด้นสิ่งแวดล้อม แต่ทำอย่างไรที่จะเอาภูเขาน้ำแข็งขึ้นมา

- การเอาภูมิสังคมว่าเป็นตัวเชื่อมโยงแทนที่จะมองภาพของการเอาโรงเรียนมาเป็นรายโรงเรียน แต่ถ้าใช้ภูมิสังคมมาเป็นตัวจับ

- การเอาครอบครัวแล้วขยายสู่โรงเรียน การทำโรงเรียนไว้เรียน ไม่ใช่โรงเรียนไว้สอน


อ.สุภาดา/มรภ.เพชรบุรี

- การทำงานสิ่งแวดล้อมศึกษาที่กินได้ด้วยจะต้องทำอย่างไร


ผศ.อรรถพล/จุฬาฯ

- ขอเชื่อมโยงไปหาโครงการวิจัยอีกเรื่องที่ทำอยู่กับ UNICEF และกระทรวงศึกษาฯ ได้แก่ โครงการโรงเรียนเพื่อนเด็ก ซึ่งในโครงการโรงเรียนเพื่อนเด็ก แม้จะไม่ได้พูดเรื่อง EE ไว้ แต่กลับปรากฎอยู่ในวิถีชีวิต เพราะการที่โรงเรียนต่อสู้กับข้อจำกัดด้านงบประมาณ ทำให้ต้องผลักดันโครงการเกษตรเพื่อาหารกลางวันในโรงเรียน  มีการเชื่อมโยงเข้าสู่หลักสูตร ดึงชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม เด็กเป็นตัวแสดงที่สำคัะญมาก เป็นการเรียนรู้จากสภาพที่เป็นอยู่จริง ทั้งสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ซึ่งเมื่อเอา element หลัก ของ ESD เช่น H.O.P.E. มาจับ จะเห็นได้ชัดมาก และในเนื้อหามีกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาซ่อนอยู่ เป็น EE ที่กินได้ ใช้งานได้


อ.สันติภาพ/มรภ.อุดรานี

- มหาวิทยาลัยที่มองภาพของการสร้างรายได้แบบง่าย แต่ไม่กระจายการเข้าถึงโอกาสในการทำกิจกรรม


รศ.ประสาน/มช.

- กระบวนการทำงานของโรงเรียนกับชุมชน ในการจัดการมลพิษแบบครบวงจร วิธีการทำงานของโรงเรียนที่ค่อยๆเรียนรู้ได้ชัดเจนมากขึ้น


ดร.กาญจนา/มรภ.กาญจนบุรี

- ปัญหาของลุ่มน้ำแม่กลองที่กาญจนบุรี ถังเก็บกระสวยจากธรรมชาติ ที่ต้องการเอาเด็กมาเป็นพลังร่วมรณรงค์จะทำงานอย่างไรในพื้นที่


ผศ.อรรถพล/จุฬาฯ

- ยกตัวอย่างกรณีโรงเรียนที่อำเภอเวียงป่าเป้า ที่ส่งเสริมให้เด็กทำงานร่วมกับผู้ใหญ่ และกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชน มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประเด็นที่จะเอาเด็กมาทำงานเพราะโรงเรียนไม่ได้แบกปัญหาสิ่งแวดล้อมของชุมชน แต่อาจมองเด็กเป็นผู้ส่งผ่านความรู้สู่ชุมชน

- พื้นที่การเรียนรู้ซ้อนกัน คือ พื้นที่ของปัญหา กับพื้นที่ของการเรียนรู้ ที่จะต้องเอากระบวนการสื่อสารมาเป็นหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งถ้าสามารถลดช่องว่างของข้อมูลจะช่วยให้กระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาสามารถเกิดได้อย่างแท้จริง


ดร.กาญจนา/มรภ.กาญจนบุรี

- ข้อสังเกต การสื่อสารระหว่างข้อมูลที่เป็นปรากฏการณ์ กับการพยากรณ์ข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญจะต้องมองให้ชัดเจน


อ.ดร.อดิศักดิ์/มมส.

- ในระดับอุดมศึกษา ยังมีคำถามเด็กเรียนด้านสิ่งแวดล้อมศึกษา เรียนไปแล้วได้อะไร เป็นสิ่งที่สังคมถามตลอด

- ประเด็นการมองที่เชื่อมต่อระหว่างสิ่งแวดล้อมศึกษากับเรื่องต่างๆ


อ.จริยาภรณ์/มรภ.ยะลา

- มองการทำงาน และเชื่อว่าสามารถทำได้ดี ถ้าสามารถคิดเชื่อมโยงกับเรื่องเศรษฐกิจ ก็จะเป็นสิ่งที่ทำได้ดี


รศ.ประสาน/มช.

- การเรียนรู้ที่เป็นศาสตร์และศิลป์ แต่ถ้าเราสามารถจับหลักของการเรียนรู้ที่เป็น Core ได้ก็จะสามารถทำงานนี้ได้สนุก


อ.สุรีย์รัตน์/มรภ.เพชรบุรี

- ไม่เคยเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษา แต่อยากให้ระดับนโยบายให้เห็นความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมในระดับหัวๆของหน่วยงาน




...........................

นันทวรรณ เหล่าฤทธิ์

เก็บความจากการประชุม

5 กุมภาพันธ์ 2553