วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553

การประชุมเครือข่ายที่ปรึกษาทางวิชาการ (Coaching Team) สำหรับโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Eco School)

ระหว่างวันที่ ๑๗ - ๑๙ มกราคม ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดให้มีการประชุมปฎิบัติการในโครงการขยายความร่วมมือเครือข่ายที่ปรึกษาทางวิชาการ (Coaching Team) โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ณ โรงเรียนกานต์มณีพาเลซ โดยมีคณาจารย์ จำนวน ๑๒ ท่าน จาก ๑๑ สถาบันอุดมศึกษา และนักสิ่งแวดล้อมศึกษาจำนวน ๖ ท่าน จาก ๓ หน่วยงาน เข้าร่วมการประชุม

สาระสำคัญของการประชุม ได้แก่ การสร้างความเข้าใจร่วมกันในทิศทางของงานด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ในระดับประเทศ และระดับภูมิภาค แนวคิดและแนวทางการทำงานของโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงานและการกำหนดทิศทางการทำงานร่วมกันระหว่างคณะนักวิชาการทีมที่ปรึกษาเดิม และกลุ่มทีมปรึกษาใหม่ นอกจากนี้ที่ประชุมยังเห็นควรให้มีการจัดกิจกรรมในลักษณะอาศรมเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนเสริมสร้างความเข้มแข็งของคณะทำงานในเครือข่าย และสนับสนุนให้มีการสื่อสารกันภายในเครือข่ายอย่างต่อเนื่องในรูปแบบต่างๆ

คณะครูและนักเรียน จากโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานี ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานด้านการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ร่วมกับนักวิชาการไทย-ญี่ปุ่น

ระหว่างวันพฤหัสบดีที่ ๑๔ - ๑๖ มกราคม ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับเจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ และ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย จัดโครงการประชุมปฏิบัติการ เรื่อง จากนโยบายสู่การปฏิบัติ: การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดำเนินงานการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับชุมชนระหว่างไทยกับญี่ปุ่น” ณ สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จ.ปทุมธานี



คณะครูและนักเรียนจากโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานี จำนวนประมาณ ๕๐ คน ได้รับเชิญให้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการประชุมดังกล่าว ซึ่งกิจกรรมการเรียนรู้แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ

ส่วนที่ ๑ การศึกษาดูงานภาคสนามของคณะครู ณ โรงเรียนรุ่งอรุณ ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาทางเลือก ที่ส่งเสริมสิ่งแวดล้อมศึกษาแบบองค์รวมและการสร้างความตระหนักทางสังคมระดับโรงเรียนประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษา โดยระหว่างการศึกษาดูงานได้มีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนแนวคิดและประสบการณ์ในการส่งเสริมการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ส่วนที่ ๒ การจัดกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษาสำหรับนักเรียน โดยการนำของ รองศาสตราจารย์ โรจน์ คุณเอนก  และคณาจารย์ นักศึกษา ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กิจกรรมประกอบด้วยการนำเสนอความรู้เรื่องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม/ฉายวิดิทัศน์ และเกมสิ่งแวดล้อมศึกษา โดยแบ่งออกเป็น ๕ ฐานการเรียนรู้ ได้แก่ กิจกรรมเพื่อสังคม (ทำความรู้จักกับ ISO 14,000 และ CSR) การอนุรักษ์พลังงาน การจัดการขยะโดยการหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ การลดการใช้สารเคมีในชีวิตประจำวัน และการประหยัดทรัพยากรในสำนักงาน

นอกจากนี้ยังมีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ โดย บริษัท อินทิเกรเต็ด ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด
 
ส่วนที่ ๓ การสัมมนาระหว่างคณะนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วย
 
การบรรยาย เรื่อง “ปัญหาและแนวโน้มด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาของประเทศญี่ปุ่นในอดีต ปัจจุบันและอนาคต” โดย ศาสตราจารย์ ดร. คิมิโกะ โคซาวะ แห่ง มหาวิทยาลัยโตไก ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีสาระสำคัญของการบรรยายที่กล่าวถึง พัฒนาการของงานด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาของญี่ปุ่นจากอดีตถึงปัจจุบัน กิจกรรมและโครงการด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาที่น่าสมใจ เช่น Junior Eco Club, EE in Paddyfield เป็นต้น บทบาทการสนับสนุนการทำงานโดยกลไกและนโยบายจากภาครัฐ



การอภิปรายและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดำเนินงานการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับชุมชนระหว่างไทยกับญี่ปุ่น โดย ศาสตราจารย์ ดร. คิมิโกะ โคซาวะ แห่ง มหาวิทยาลัยโตไก และอาจารย์ ทองดี แย้มสรวล โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อรรถพล อนันตวรสกุล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัย และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ดำเนินการเสวนา สาระสำคัญของการเสวนา มุ่งเน้นไปที่ประสบการณ์การทำงานด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทที่แตกต่างกัน การกำหนดประเด็นในการทำงาน และการพิจารณาถึงปัจจัยเงื่อนไข แรงสนับสนุนที่จะช่วยให้งานด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ



การอภิปรายและสัมมนาเชิงปฏิบัติการโต๊ะกลม เรื่อง "บทเรียนจากประสบการณ์ญี่ปุ่นเกี่ยวกับการดำเนินการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับชุมชน" โดย อาจารย์มาลี ทรงเกตุกุล ครูแกนนำ โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง คุณฐิตินันท์ ศรีสถิต อดีตกองบรรณาธิการนิตยสารโลกสีเขียว และอดีตผู้เข้าร่วมโครงการ JENESYS East Asia Future Leader (Youth Exchange) 2008 และคุณสุรินทร์ วราชุน นักสิ่งแวดล้อมศึกษา จาก WWF, Thailand โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์อรรถพล อนันตวรสกุล เป็นผู้ดำเนินการเสวนา สาระสำคัญของการเสวนา ประกอบด้วย การนำเสนอกรณีตัวอย่างการออกแบบกิจกรรมการเรียนแบบบูรณาการสิ่งแวดล้อมศึกษา ของโรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง  การนำเสนอประสบการณ์การศึกษาดูงานจากญี่ปุ่นซึ่งเน้นให้เห็นถึงการสนับสนุนอย่างจริงจังให้กิจกรรมการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาบูรณาการเข้าสู่วิถีชีวิตประจำวันของทุกคน ประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับครูและนักเรียนในโรงเรียน ของนักสิ่งแวดล้อมศึกษา





รายงานโดย Web Editor, EESD Network Thailand

วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553

Beyond Limits: Learning to Live Together Peacefully, Sustainably and Sufficiently

By Athapol Anunthavorasakul
(Director & Assistant Dean for Research,
Chulalongkorn University, Faculty of Education, Thailand)

anun_atha@yahoo.com


For more than five decades, His Majesty the King of Thailand, Bhumibol Adulyadej, has dedicated himself to promoting the well-being of the people of Thailand. He has initiated thousands of royal projects which have helped thousands of communities—in remote highlands, flood-prone areas, and endangered coastal regions.



In 1994, King Bhumibol proposed a comprehensive approach called “Sufficiency Economy” (SE) as a strategy for development. The approach was based on concrete experiences he had gathered from working with local people. It focuses on using indigenous knowledge in managing natural resources for livelihood and strengthening communities in remote areas for a better quality of life. King Bhumibol synthesized his observations and offered it to the Thai people to prepare them for risks and economic downturns, particularly the so-called “Tom Yum Kung” crisis.


Beyond Economics

Although the term has the word “economy”, Sufficiency Economy is not only about economic development, but also integrates socio-cultural and environmental development. The philosophy emphasizes a new set of ethical values, a holistic view, and self-reliance based at various levels—individual, group, community, and societal—to empower the people and motivate them to live harmoniously with nature. Sufficiency Economy also includes “balancing” and “cooperation with multi-stakeholders” to sustain the new values.

This innovative approach promotes the middle path of “not too little, not too much” in real life. It advocates critical thinking and decision-making processes as tools in achieving the three main SE principles—“moderation,” “reasonableness,” and “self-immunity.” When applying these principles, knowledge and ethics are recommended as necessary elements.



Today, the philosophy of Sufficiency Economy is being implemented in Thailand at multi-levels and in various sectors including agriculture, business, industry, and tourism. In 2006, Mr. Kofi Annan, the UN Secretary General at that time, presented the “Human Development Lifetime Achievement Award” to King Bhumibol. The UN chief said, “‘Sufficiency Economy’ philosophy . . . is of great relevance to communities everywhere during these times of rapid globalization. The philosophy’s ‘middle way’ approach strongly reinforces the United Nations’ own advocacy of a people-centred and sustainable path toward human development. His Majesty’s development agenda and visionary thinking are an inspiration to his subjects, and to people everywhere.”

In 2007, Thailand’s Human Development Report was published with issues on “Sufficiency Economy and Human Development.” The significant role of Sufficiency Economy as an alternative approach is now respected not only in Thailand but also throughout the world.

SE, Sustainability, and Peace

There are similarities among the values, concepts, and approaches between Sufficiency Economy (SE) and other contemporary innovations such Education for Sustainable Development (ESD) and Education for International Understanding (EIU).

First, they promote the cultivation of human values and harmonious living among people, within people, and between human and nature. SE respects the limits and values of natural resources and offers a way for people—especially agriculturalists who work closely with nature—to use local wisdom and creative technology in food production, while conducting resource management toward sustainability.



Second, the SE principles of “moderation,” “reasonableness,” and “self-immunity” can be equated with the EIU concept of “inner peace” which is not only about the harmony between people, but within people.

Third, SE, ESD, and EIU approaches promote “intra-personal transformation” as well as empower communities through individuals and groups working together to create a new set of values and lifestyle for a better future. In these efforts, ESD/EIU educators and SE workers should promote critical thinking and decision-making as significant tools for communities.

Lastly, ESD and EIU offer a space for dialogue between the “local” and the “global” on development issues. In the writer’s opinion, SE should be considered as a local initiative—formulated and implemented in the context of Thailand—for sustainable development and the creation of a culture of peace.


Sufficiency in Schools




In expanding SE to cover the educational arena, there are thousands of schools and institutes in Thailand where people are attempting to reorient their schools towards sufficiency.



In remote areas where people have limited income but have access to natural resource, SE is used as a strategy to encourage teachers, students, and villagers to work together in managing a school lunch program through “self-reliance.” Planting and feeding programs are included in the school curriculum. Villagers, including parents, attend the program as resource persons in class, as labor in preparing the plot for agricultural activities, and as experts for monitoring and evaluation. A group of housewives volunteer in preparing lunch for the school children. They also teach the young girls how to prepare meals for a hundred students, while the boys do the planting with help from local experts.

School Initiative: Working Together

In urban areas, SE provides opportunities to communities through a school initiative called the Service Learning Project where students conduct a survey of needs and problems of their communities. Some communities promote waste management and the reduction of energy, while others use SE principles to revise their activity planning.



The SE school program has shown that the school is a place where people can live together peacefully, sustainably, and sufficiently. With limited budget and resources and without support from external organizations, a new life in schools has been created by a network of students, teachers, administrators, and community members.

In the writer’s opinion, now that ESD and EIU are being promoted globally through UNESCO’s network of partner organizations, Sufficiency Economy is Thailand’s response—a local initiative and an entry point to the path of sustainability and culture of peace.


...............................................................................

Source

Athapol Anunthavorasakul. "Beyond the limits, learning to live together peacefully, sustainably and sufficiently". Sansaeng Magazine. UNESCO Asia-Pacific Centre of Education for International Understanding. No.26 Autumn 2009

วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2553

มุ่งสู่ความยั่งยืน: จิตสำนึกใหม่เพื่ออนาคตที่ดีกว่า

บทความโดย อรรถพล อนันตวรสกุล




โจเอล อี โคเฮน (Joel E. Cohen) ศาสตราจารย์ด้านประชากรศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ได้รายงานการคาดการณ์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านประชากรศาสตร์ไว้ในหนังสือ Crossroads for Planet Earth (2005) ซึ่งผู้เขียนเห็นว่ามีความสำคัญยิ่งและใคร่ขอนำเสนอเป็นข้อมูลเพื่อเปิดประเด็นความคิดไว้ ดังนี้

.........................................................................

ในปี 1950 โลกมีประชากร 2.5 พันล้านคน ในปี 2005 ประชากรโลกเพิ่มขึ้นเป็น 6.6 พันล้านคน และคาดการณ์ว่าในปี 2050 ประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 9.1 พันล้านคน

จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นระหว่างปี 2005 ถึง ปี 2050 คือ 2.5 พันล้านคน นั่นเท่ากับว่า ภายใน 45 ปี โลกจะมีประชากรเพิ่มขึ้นเท่ากับจำนวนประชากรทั้งหมดที่โลกมีในปี 1950

หลังจากปี 2005 เป็นต้นไป โลกจะมีประชากรเพิ่มขึ้นปีละ 74 – 76 ล้านคน หรือกล่าวได้ว่าทุกๆ 4 ปี โลกจะมีประชากรเพิ่มขึ้นเท่ากับจำนวนประชากรทั้งหมดของสหรัฐอเมริกา

จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นมากกว่าครึ่งอาศัยอยู่ใน 9 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน ไนจีเรีย คองโก บังคลาเทศ อูกันดา เอธิโอเปีย จีน และสหรัฐอเมริกาโดยประชากรที่เพิ่มขึ้นของสหรัฐอเมริกานั้น 1 ใน 3 มาจากการอพยพเข้า

ประเทศเยอรมนี ญี่ปุ่น อิตาลี รัสเซีย และอีก 47 ประเทศที่มีเศรษฐกิจมั่นคง จะมีประชากรลดน้อยลง

อายุขัยเฉลี่ยประชากรโลกในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 อยู่ที่ 30 ปี ขณะที่อายุขัยเฉลี่ยประชากรโลกในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 อยู่ที่ 65 ปี

ก่อนปี 2000 ประชากรในวัยหนุ่มสาวมีมากกว่าประชากรสูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) แต่หลังจากปี 2000 เป็นต้นไป สัดส่วนของประชากรสูงอายุจะมีมากกว่าประชากรในวัยหนุ่มสาว

ในปี 2050 ประชากรสูงอายุในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 1 ใน 3 ขณะที่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนา และกลุ่มประเทศด้อยพัฒนาสัดส่วนของประชากรสูงอายุเมื่อเทียบกับประชากรทั้งหมดคิดเป็น 1 ใน 5

ปี 2050 ในกลุ่มประเทศยากจนจะเกิดชุมชนเมืองที่มีประชากรอาศัยอยู่มากกว่า 1 ล้านคน เพิ่มขึ้นทุกสัปดาห์

.........................................................................................

การประเมินสถานการณ์ด้านประชากรดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความเสี่ยง ภาวะคุกคามและขีดจำกัดสำคัญที่มวลมนุษยชาติจะต้องเผชิญหน้าในอนาคตอันใกล้ไว้หลายประการ สามารถวิเคราะห์เป็นประเด็นสำคัญที่เราควรพิจารณาถึง 6 ประการ คือ


1. การเพิ่มขึ้นของประชากร สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการ อาหาร น้ำดื่ม พลังงาน ที่อยู่อาศัย และระบบสาธารณูปโภค ซึ่งปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ล้วนจำเป็นที่ต้องมีการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้เป็นวัตถุดิบ ขณะเดียวกัน การเพิ่มขึ้นของประชากรยังแสดงให้เห็นถึงปริมาณขยะและของเสียที่จะเกิดขึ้นอย่างมหาศาล ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของขนาดรอยเท้าทางนิเวศ (Ecological Footprint) ที่แต่ละสังคมทิ้งไว้กับสิ่งแวดล้อมธรรมชาติทั้งในประเทศตน และในพื้นที่อื่นๆ


2. สัดส่วนการเพิ่มขึ้นและลดลงของประชากรในกลุ่มประเทศที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และกลุ่มประเทศยากจน ชี้ให้เห็นถึงสถานการณ์ปัญหาความยากจน การขาดแคลนอาหาร และภาวะทุพพลโภชนาที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้น นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของการเคลื่อนย้ายประชากรที่เป็นแรงงานจากกลุ่มประเทศยากจนซึ่งจะหลั่งไหลเข้าสู่ประเทศพัฒนาแล้วที่มีการจ้างงาน มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมมากกว่าในการดำรงชีวิต


3. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร จากสังคมที่มีประชากรวัยแรงงานเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งมีกำลังความสามารถการผลิตและการแข่งขันลดลง แต่มีกำลังซื้อสูง มีความต้องการการดูแลจากภาครัฐเพิ่มมากขึ้น ภาระหน้าที่ในการเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศของคนหนุ่มสาวมีมากขึ้น ขณะที่ต้องประสบกับปัญหาแรงงานข้ามชาติราคาถูก


4. การขยายตัวอย่างมากของเมือง และมีกระจายตัวของชุมชนเมืองขนาดใหญ่ในทั่วทุกทวีป ทำให้สัดส่วนของการผลิตภาคอุตสาหกรรม การค้าและการบริการทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ขณะที่ภาคการเกษตรถูกลดความสำคัญลง ทั้งๆที่ความต้องการอาหารเพิ่มสูงขึ้น อุตสาหกรรมอาหารและพลังงานจะถูกผูกขาดโดยกลุ่มทุนขนาดใหญ่


5. สังคมจะมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม (Multicultural Society) มากขึ้น เนื่องจากการอพยพของแรงงานและประชากรจากแทบทุกทวีป การดำรงชีวิตอยู่ท่ามกลางความหลากหลายและความขัดแย้งทางเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม จะเป็นประเด็นปัญหาสำคัญที่ประชากรในอนาคตต้องเผชิญ


6. ปัญหาความยากจน ความไม่เท่าเทียมกันของโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากร อาหาร น้ำสะอาด และพลังงาน จากภาวะประชากรโลกจะรุนแรงมากขึ้น ซึ่งปัญหาต่างๆ เหล่านี้จะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง การแก่งแย่ง และสงคราม โดยมีกลไกในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรมเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเผชิญหน้ากันของประเทศต่างๆ
 
ภาวะคุกคาม และความจำกัดต่างๆ ที่รอให้เราเผชิญในอีกไม่เกินห้าสิบปีข้างหน้าจึงนับว่าเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง และจำเป็นที่แต่ละสังคมต้องมียุทธศาสตร์ในการจัดการกับความเปลี่ยนแปลงเพื่อมุ่งไปสู่อนาคตที่ยั่งยืน ทั้งนี้ กระบวนการจัดการศึกษาทั้งการศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย ให้กับประชาชนในทุกภาคส่วนของสังคมเป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่สมควรได้รับการพิจารณาถึง ดังได้มีการระบุถึงความสำคัญจำเป็นของการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนไว้ในเอกสาร แผนปฏิบัติการ 21 (Agenda21, 2537) ว่า


"การศึกษาจะช่วยให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมและจริยธรรม การมีค่านิยม ทัศนคติ ทักษะและพฤติกรรมที่จะส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในการนี้การศึกษาควรให้ความรู้แก่ประชาชนไม่เฉพาะในเรื่องสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพและกายภาพเท่านั้น แต่รวมถึงคุณค่าของสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม และในเรื่องการพัฒนามนุษย์ (Human development) ด้วย"

เป้าหมายของการจัดการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมพลเมืองโลกยุคใหม่จึงต้องมุ่งเน้นไปที่การปรับเปลี่ยนวิธีคิด เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดแบบองค์รวม เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนการปลูกฝังจิตสำนึกใหม่ให้ตระหนักถึงความสำคัญของความสัมพันธ์ในลักษณะพึ่งพากันและกัน ระหว่างสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางสังคม ชุมชนเมืองและชุมชนชนบท สังคมที่มีความมั่งคั่งร่ำรวยและสังคมที่ยากจน สังคมอุตสาหกรรมและสังคมเกษตรกรรม รวมไปจนถึงความสมดุลระหว่างสังคมวัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมืองและสิ่งแวดล้อม กรอบแนวคิดดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงองค์รวมของจิตสำนึกใหม่เพื่อความยั่งยืนที่ครอบคลุมมิติต่างๆในการพัฒนา และตั้งอยู่บนพื้นฐานของค่านิยมหลัก 4 ประการ ได้แก่




1. มิติด้านสิ่งแวดล้อม: ค่านิยมการอนุรักษ์
2. มิติด้านเศรษฐกิจ: ค่านิยมด้านการพัฒนาที่เหมาะสม
3. มิติด้านสังคม: ค่านิยมด้านสันติภาพ ความเท่าเทียมกัน และสิทธิมนุษยชน
4. มิติด้านการเมือง: ค่านิยมประชาธิปไตย


จากการนำเสนอข้อมูลข้างต้น ผู้เขียนได้นำกรอบแนวคิดดังกล่าวมาวิเคราะห์เพิ่มเติมร่วมกับเอกสารปฏิญญาโลก (The Earth Charter) ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญที่จัดทำขึ้นโดย the Earth Charter International Council เครือข่ายประชาสังคมระดับนานาชาติประกอบบุคลากรทั้งภาครัฐ เอกชน นักวิชาการ นักวิจัย และองค์กรพัฒนาเอกชน ที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา ทั้งนี้เอกสารปฏิญญาโลกได้ให้หลักการทั่วไปในการทำงานที่ควรขับเคลื่อนทั้งในระดับบุคคล องค์กร สถาบัน และเครือข่ายประชาสังคม ไว้ 4 ประการ คือ

1. การให้ความเคารพและใส่ใจต่อชุมชนแห่งชีวิต
2. ความสมบูรณ์มั่งคั่งของระบบนิเวศ
3. ความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม และ
4. ประชาธิปไตย การไม่ใช้ความรุนแรง และสันติภาพ

จากการศึกษาเอกสารในเบื้องต้น ผู้เขียนใคร่ขอสรุปประเด็นหลักเกี่ยวกับจิตสำนึกใหม่ 10 ประการ ที่ควรได้รับการปลูกฝังและพัฒนาให้เกิดขึ้นแก่พลเมืองตามแนวคิดของการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ประกอบด้วย

1. ความห่วงใยและมุ่งมั่นที่จะปกป้องรักษาสิ่งแวดล้อม
2. การผลิตและบริโภคอย่างเหมาะสม และพอเพียง
3. การใช้ทรัพยากรและการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ
4. การยอมรับความแตกต่าง และความหลากหลายทางวัฒนธรรม
5. การยอมรับในสิทธิมนุษยชนของคนกลุ่มต่างๆ
6. การใช้เหตุผลและกระบวนการประชาธิปไตยในการตัดสินใจ
7. การไม่ใช้ความรุนแรงในการจัดการความขัดแย้ง
8. การประนีประนอม และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
9. ความยุติธรรม และความเป็นธรรม
10. การมีส่วนร่วมอย่างจริงจังในการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม


ในกระบวนการปลูกฝังและพัฒนาจิตสำนึกใหม่ทั้ง 10 ประการข้างต้น แม้จะเป็นหน้าที่หลักของหน่วยงานและสถาบันที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดการศึกษา แต่การเปิดโอกาสให้ภาคประชาสังคมที่มีความเกี่ยวข้องได้มีส่วนสนับสนุน และร่วมขับเคลื่อนให้เกิดการเชื่อมโยงแนวคิดดังกล่าวจาก “ทุกระบบการศึกษาสู่ทั้งระบบของสังคม” จนเป็น “ส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตของทุกผู้คน” เป็นประเด็นที่สมควรอย่างยิ่งที่จะมีการถกเถียงหารือเพื่อเร่งดำเนินการต่อไปในอนาคต




...................................................................................


เอกสารประกอบการเรียบเรียง

มานพ เมฆประยูรทอง (แปล). แผนปฏิบัติการ 21 เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. กระทรวงการต่างประเทศ. กรุงเทพฯ (2537)


Earth Charter International. The Earth Charter Initiative. http://www.earthcharter.org/ (December 2007) SCIENTIFIC AMERICAN. Crossroads for Planet Earth. SCIENTIFIC AMERICAN, INC., New York, U.S.A. (2005)


Teaching and Learning for a Sustainable Future: A Multimedia Teacher Education Program. UNESCO. http://www.unesco.org/education/tlsf/ (December 2007)


..................................................................


ที่มา


อรรถพล อนันตวรสกุล. “มุ่งสู่ความยั่งยืน: จิตสำนึกใหม่เพื่ออนาคตที่ดีกว่า”. เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย ด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย. สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติและตลาดนัดคุณธรรม ครั้งที่ 3 (25-27 มกราคม 2551)

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2553

แนะนำเครือข่าย EESD Network Thailand

เครือข่ายสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ประเทศไทย (EESD Network Thailand) เป็นเครือข่ายนักสิ่งแวดล้อมศึกษา ครู นักการศึกษา นักเรียน นิสิตนักศึกษา นักวิชาการ และผู้ที่สนใจในการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Environmental Education for Sustainable Development)

เครือข่ายฯ ได้รับการริเริ่มขึ้นจากการประชุมปฏิบัติการเพื่อขยายความร่วมมือเครืิอข่ายที่ปรึกษาทางวิชาการ โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Eco-School) ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดย กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (DEQP: Department of Environmental Quality and Promotion, MONRE: Ministry of Natural Resource and Environment)

สมาชิกของเครือข่าย ประกอบคณะนักวิชาการซึ่งทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางวิชาการ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๑ จำนวน ๔ ท่าน จาก ๔ สถาบัน ได้แก่

๑. รศ.ประสาน ตังสิกบุตร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
๒. ผศ.ดร.เยาวนิจ กิตติธรกุล คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
๓. ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๔. อ.สันติภาพ ศิริวัฒนไพบูลย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี

และคณะนักวิชาการ ที่แสดงความสนใจเข้าร่วมเป้นเครือข่ายที่ปรึกษาวิชาการเพิ่มเติม ในปี ๒๕๕๓ จำนวน ๘ ท่าน จาก ๗ สถาบัน ได้แก่

๑. ผศ.ดร.บุญเชิด หนูอิ่ม คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
๒. ผศ.รณิดา ปิงเมือง คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
๓. ดร.กาญจนา เชียงทอง สำนักงานวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี
๔. ดร.อดิศักดิ์ สิงห์สีโอ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
๕. อ.ธันวา ใจเที่ยง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎกาฬสินธุ์
๖. อ.สุภาดา ขุนณรงค์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี
๗. อ.สุรีรัตน์ เทมวรรธน์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี
๘. อ.จริยาภรณ์ มาสวัสดิ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยร มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา

เครือข่ายยังได้รับการสนับสนุนการทำงานจากนักวิชาการ นักการศึกษา และคณะทำงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการประชุม และจะร่วมเป็นเครือข่ายในการทำงานร่วมกันเพื่อผลักดันและเสริมพลังการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น โดยมีรายชื่อดังต่อไปนี้

๑. คุณสาวิตรี ศรีสุข กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
๒. คุณนันทวัน เหล่าฤทธิ์ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
๓. คุณโสภิต ศรีศาสตร์ธนมาศ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
๔. คุณจีระนันท์ ชะอุ่มใบ สมาคมสร้างสรรค์ไทย (ตาวิเศษ)
๕. คุณตุ๊กตา ใจหาญ สมาคมสร้างสรรค์ไทย (ตาวิเศษ)
๖. คุณภูวดล น้ำดอกไม้ กองทุนสัตว์ป่าโลก (WWF, Thailand)

ทั้งนี้เครือข่ายจะได้เชิญชวนคุณครู กลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษา นักวิชาการ นักสิ่งแวดล้อมศึกษา และผู้ที่สนใจ จากหน่วยงานต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมต่อไป

เครือข่ายมุ่งหวังให้บลอกแห่งนี้เป็นพื้นทีเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social network) สำหรับการสื่อสารข้อความ ความคิด และเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานสิ่งแวดล้อมที่เปิดกว้างสำหรับทุกภาคส่วน ผู้ที่สนใจจะนำเสนอบทความ ข้อเขียน งานเขียนที่เรียบเรียงจากประสบการณ์การทำงาน สามารถส่งไฟล์ข้อมูลมาได้ที่ eesd_network_thailand@hotmail.com