วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

แนะนำองค์กรในเครือข่าย ๓: กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมศึกษา

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ด้านสิ่งแวดล้อม ให้บริการข้อมูล สารสนเทศด้านสิ่งแวดล้อมเทคโนโลยีต่างๆ ในฐานะศูนย์ข้อมูล ข้อสนเทศด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสงวน บำรุงรักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน รวมทั้ง วิจัย พัฒนา ถ่ายทอดและส่งเสริมเทคโนโลยีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังเป็นหน่วยงานที่ดำเนินการประสานและเสนอแนะแผน และมาตรการในการส่งเสริม เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับชาติ


วิสัยทัศน์ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม คือ “ส่งเสริมและสนับสนุนให้

ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” และมีพันธกิจ

ในการสร้างจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมในการบริหารและจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ

สิ่งแวดล้อม การเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถของเครือข่ายและภาคีที่เกี่ยวข้องเพื่อ

การบริหาร จัดการสิ่งแวดล้อม พัฒนา ประยุกต์ และให้บริการสารสนเทศด้านสิ่งแวดล้อม

และการ วิจัย พัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม



ภารกิจที่เกี่ยวข้องกับงานสิ่งแวดล้อมศึกษา

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้มีการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตามกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาทั้งในและนอกระบบการศึกษา และการศึกษาตลอดชีวิต โดยมีการดำเนินงานทั้งในระดับนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมศึกษาระดับชาติ รวมทั้งด้านการส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการพัฒนาและประสานเครือข่ายสิ่งแวดล้อมศึกษาทั้งในประเทศและระหว่างประเทศโดยมีการดำเนินงานดังนี้

1. งานยุทธศาสตร์สิ่งแวดล้อมศึกษาทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่ในการดำเนินงานพัฒนายุทธศาสตร์สิ่งแวดล้อมศึกษาโดยได้จัดทำแผนหลักสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (EESD) สำหรับ ปี พ.ศ. 2551-2555 เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ใช้เป็นแนวทางในการทำแผนปฏิบัติการ นอกจากนี้ยังมีส่วนในร่วมพัฒนากิจกรรมและแผนสิ่งแวดล้อมศึกษาให้สอดคล้องตามแผนปฏิบัติการสิ่งแวดล้อมศึกษาแห่งอาเซียน ฉบับที่ 1 (2543-2548) และฉบับที่ 2 (2549-2555) เพื่อการพัฒนางานสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับอาเซียนและนานาชาติต่อไป

2. โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Eco-school) เป็นโครงการที่นำกระบวนการด้านสิ่งแวดล้อมศึกษามาใช้จัดการในระดับโรงเรียน โดยนำแนวคิด “Whole School Approach” มาเป็นกรอบแนวทางการในการพัฒนาโรงเรียน และมีกระบวนการดำเนินการอย่างเป็นระบบ ผ่านกรอบการทำงาน 4 มิติ คือ (1) ด้านนโยบายสิ่งแวดล้อมศึกษาและโครงสร้างการบริหารจัดการ (2) การจัดกระบวนการเรียนรู้ (3) ระบบการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (4) การมีส่วนร่วมและเครือข่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา โดยเน้นให้โรงเรียนได้วิเคราะห์และพัฒนาการบริหารจัดการโรงเรียนทั้งระบบในบริบทของท้องถิ่นของตนเอง เพื่อนำไปสู่การใช้ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน


วิสัยทัศน์ของโรงเรียน Eco-school คือ “สร้างพลเมืองให้เป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจ มีความตระหนักและจิตสำนึกต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีบทบาทในกระบวนการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง”

ขณะนี้มีโรงเรียนที่สมัครใจเป็นโรงเรียนนำร่องเข้าร่วมโครงการ Eco-school ทั้งสิ้นจำนวน 41 โรงเรียน โดยโรงเรียนเหล่านี้จะได้รับคำแนะนำและการให้คำปรึกษาทางวิชาการจากสถาบันอุดมศึกษาในภูมิภาค


3. โครงการมหิงสาสายสืบ เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้เยาวชนที่สนใจในการศึกษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว ได้พัฒนากระบวนการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของตนผ่านการทำงานเป็นทีมในการสำรวจและรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างใกล้ชิด ผ่านกิจกรรมความท้าทาย 4 ขั้นตอน คือ “การค้นหา” “สำรวจ” เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แท้จริงของพื้นที่ ตลอดจน “อนุรักษ์” แล้วนำประสบการณ์ที่ได้มา “แบ่งปัน” หรือเผยแพร่ ให้กับผู้อื่นได้เห็นคุณค่าประโยชน์และความสำคัญของพื้นที่นั้น ซึ่งรางวัลที่ได้จากการทำโครงการคือรางวัลแห่งความภาคภูมิใจที่เยาวชนได้ร่วมรับผิดชอบต่อสังคม ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น

4. การจัดงานเวทีเสวนาระดับประเทศ (Thailand Environmental Education Forum) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เครือข่ายที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานในรูปแบบที่หลากหลาย อันจะก่อให้เกิดแนวทางร่วมกันในการพัฒนางานด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาอย่างยั่งยืนต่อไป

งานเวทีเสวนาระดับประเทศได้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ภายใต้หัวข้อ “เปลี่ยนเรา... เพื่อเปลี่ยนโลก” (The 3rd Thailand Environmental Education: Sharing for Change: We are living together) โดยมีผู้ร่วมงานทั้งภาครัฐและเอกชนกว่า 300 คน ภายในงานนอกจากจะมีการเสวนาในหัวข้อต่างๆ และนิทรรศการจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในมิติสิ่งแวดล้อมศึกษาด้านต่างๆ แล้ว ยังได้ร่วมรับฟังมุมมองการพัฒนาสิ่งแวดล้อมศึกษาจากวิทยากรต่างประเทศและในประเทศอันจะนำไปสู่แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

5. การพัฒนาสื่อสิ่งแวดล้อมศึกษา กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้จัดทำสื่อทั้งในรูปแบบวีดิทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อให้บริการแก่ผู้สนใจ ดังนี้

วารสาร เส้นทางสีเขียว : Green Line

วารสารราย 4 เดือน ที่จัดพิมพ์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษในเล่มเดียวกัน


หนังสือสะพานสีเขียว

คู่มือประกอบกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษา สำหรับนักกิจกรรมและผู้สนใจงานด้านสิ่งแวดล้อมศึกษา


หนังสือในโลกกว้าง

คู่มือเรียนรู้เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพสำหรับเยาวชน อายุ 10-12 ปี


หนังสือในโลกกว้าง

คู่มือเรียนรู้เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพสำหรับเยาวชน อายุ 11-15 ปี


โลกสวยด้วยมือเรา

แปลจากหนังสือ “Earth Works : Action Park”



สิ่งแวดล้อมศึกษาในโรงเรียน

แปลจากหนังสือ “Environmental Education in the Schools : Creating a Program that Work”



เว็บไซต์เวทีเสวนาสิ่งแวดล้อมระดับประเทศ ครั้งที่ 3

เชื่อมโยงได้ที่เว็บไซต์กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม www.deqp.go.th





ผู้สนใจงานสิ่งแวดล้อมศึกษาสามารถติดต่อและสอบถามข้อมูลได้ที่ :

ส่วนสิ่งแวดล้อมศึกษา กองส่งเสริมและเผยแพร่

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

49 พระราม 6 ซอย 30

พญาไท กรุงเทพฯ 10400

โทร. 0-2298-5628 แฟ็ก. 0-2298-5629

www.deqp.go.th

หรือติดต่อที่ eeforum@deqp.go.th

วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

แนะนำเฟซบุคของสมาชิกในเครือข่าย

EsdCenter EduChula : เป็นหน้าเฟซบุคของศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

R&D Center on ESD Innovations: เป็นหน้า Fan Page บนเฟซบุคของศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้สนใจเข้าชมได้โดยไม่จำเป็นต้องลงทะเบียน add friend

ศูนย์ศึกษาธรรมชาติ และระบบนิเวศเกษ: เป็นหน้าเฟซบุคของศูนย์ศึกษาธรรมชาติ และระบบนิเวศเกษตร กองทุนสัตว์ป่าโลก ประจำประเทศไทย (WWF, Thailand)

Magiceyes ตาวิเศษ: เป็นหน้าเฟซบุคของสมาคมสร้างสรรค์ไทย ตาวิเศษ

แนะนำองค์กรในเครือข่าย ๒: สมาคมพิทักษ์สัตว์แห่งโลก (WSPA)

สมาคมพิทักษ์สัตว์แห่งโลก (WSPA)



วิสัยทัศน์ของสมาคมพิทักษ์สัตว์แห่งโลกคือโลกที่สัตว์มีความสำคัญและหยุดยั้งการทารุณกรรมสัตว์


สมาคมพิทักษ์สัตว์แห่งโลกส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์มากว่า 25 ปีแล้ว งานของเราพุ่งเป้าไปในพื้นที่ที่มีมาตรการปกป้องสัตว์น้อยมาก


สมาคมพิทักษ์สัตว์แห่งโลกมุ่งทำงานด้านสวัสดิภาพสัตว์ใน 4 อันดับความสำคัญคือ:

สัตว์เลี้ยงที่เป็นเพื่อนของมนุษย์ – ความรับผิดชอบของเจ้าของสัตว์ การจัดการสัตว์เร่ร่อนอย่างมี เมตตา และการป้องกันการทารุณกรรมสัตว์

การตักตวงผลประโยชน์เชิงการค้าจากสัตว์ป่า – การทำฟาร์มแบบเข้มข้น การจัดการสัตว์ป่าที่โหดร้าย และการฆ่าสัตว์ป่าเพื่อเป็นอาหารหรือผลิตผลพลอยได้อื่น

การทำฟาร์มสัตว์ – การทำฟาร์มแบบเข้มข้น การขนส่งระยะทางไกล และการฆ่าสัตว์เพื่อเป็นอาหาร

การจัดการภัยพิบัติ – ให้การดูแลสัตว์ที่ได้รับความทุกข์ทรมานจากภัยพิบัติจากธรรมชาติหรือภัยพิบัติ จากน้ำมือมนุษย์ และปกป้องวิถีชีวิตของมนุษย์


ภารกิจของเรา: สร้างความเคลื่อนไหวด้านสวัสดิภาพสัตว์ระดับสากล

ในฐานะที่ปรึกษาองค์การสหประชาชาติและสภายุโรป สมาคมพิทักษ์สัตว์แห่งโลกคือสมาคมสวัสดิภาพสัตว์ที่มีสมาชิกมากที่สุดในโลก


เราภูมิใจที่ได้เป็นผู้ประสานงานเครือข่ายที่กำลังเติบโตแห่งนี้ ด้วยสมาชิกกว่า 900 องค์กรใน 150 ประเทศ


สมาคมพิทักษ์สัตว์แห่งโลกนำผู้คนและองค์กรทั่วโลกมาพบกันเพื่อท้าทายประเด็นสวัสดิภาพสัตว์ระดับโลก

สมาคมพิทักษ์สัตว์แห่งโลกมีสำนักงาน 13 แห่งทั่วโลก และผู้บริจาคหลายแสนคนทั่วโลก ตระหนักรู้ในเป้าหมายของเรา ในเชิงการเมือง เรารณรงค์เพื่อทำให้รัฐบาลและผู้มีอำนาจตัดสินใจเชิงนโยบายเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติและออกกฎหมายใหม่ๆ เพื่อปกป้องและปรับปรุงสวัสดิภาพสัตว์

ด้วยเงินบริจาคของผู้สนับสนุนของเรา สมาคมพิทักษ์สัตว์แห่งโลกได้ช่วยผู้คนก่อตั้งกลุ่มสวัสดิภาพสัตว์ใหม่ๆ ทำให้ชุมชนท้องถิ่นทั่วโลกช่วยขับเคลื่อนการปรับปรุงสวัสดิภาพสัตว์

ด้วยความเข้าใจที่ว่า การเพิกเฉยของมนุษย์คือปัจจัยหลักที่ทำให้ความโหดร้ายต่อสัตว์ยังดำรงอยู่ โครงการให้ความรู้ของสมาคมพิทักษ์สัตว์แห่งโลกช่วยทำให้คนมีทัศนคติเชิงบวกต่อสัตว์มากขึ้น

ทีมงานภาคสนามและทีมจัดการภัยพิบัติของเราได้ให้ความช่วยเหลือโดยตรงแก่สัตว์ที่ถูกทอดทิ้ง ละเลย และประสบภัยพิบัติจากธรรมชาติและภัยพิบัติจากน้ำมือมนุษย์ทั่วโลก



การศึกษา

สัตว์สามารถรับรู้ความสุข ความเจ็บปวด และความทุกข์ทรมานได้ เมื่อมนุษย์อยู่ร่วมกับสัตว์ เราจึงมีความรับผิดชอบและหน้าที่ตามกฎหมายที่จะปกป้องสวัสดิภาพสัตว์

สารเหล่านี้คือหัวใจสำคัญของเป้าหมายด้านการศึกษาของ WSPA และเพื่อพัฒนาความรักความเมตตา ความยุติธรรม ความเคารพต่อสัตว์ และมนุษย์ สวัสดิภาพสัตว์ยังสำคัญยิ่งต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

ด้วยความรู้พื้นฐานและความเข้าใจในหลักการสำคัญของสวัสดิภาพสัตว์ มนุษย์จะเข้าใจและซาบซึ้งว่าเราสามารถเป็นผู้ปรับปรุงคุณภาพชีวิตสัตว์ทั่วโลกได้


การศึกษาเพื่อการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก

โครงการการศึกษาด้านสวัสดิภาพสัตว์ของ WSPA พุ่งเป้าไปที่ระดับโรงเรียนประถมและมัธยม ระดับอาชีวะ และการศึกษาระดับที่สูงกว่า

เจ้าหน้าที่ด้านการศึกษาของ WSPA ยังสนับสนุนและเป็นผู้ช่วยสมาชิกสมาคมทั่วโลกในการพัฒนาโครงการด้านการศึกษา


โครงการของเรา

WSPA ดำเนินโครงการการศึกษาด้านสวัสดิภาพสัตว์ในอเมริกากลาง อเมริกาใต้ แอฟริกา และเอเชีย โดยมุ่งเน้นใน 3 ด้าน

1. การศึกษาด้านสวัสดิภาพสัตว์ระดับสากล (IN AWE)

โครงการการศึกษาเพื่อสัตว์ มนุษย์และสิ่งแวดล้อมมีกลุ่มเป้าหมายคือครูที่ทำงานกับเยาวชนอายุ 5-16 ปี เพื่อให้นำการศึกษาด้านสวัสดิภาพสัตว์เข้าเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรของโรงเรียน ด้วยการทำงานร่วมกับภาครัฐ จัดการฝึกอบรมครู และจัดหาสื่อการเรียนการสอน

ด้วยการศึกษาเรื่องการปฏิบัติต่อสัตว์อย่างมีมนุษยธรรม จะทำให้เด็กๆ เป็นคนมีความรักความเมตตรา และเติบโตเป็นประชากรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม

ปัจจุบันโครงการ IN AWE ดำเนินการในคอสตาริกา ชิลี เปรู บราซิล เคนย่า และประเทศไทย


หาข้อมูลเพิ่มเติมได้โดยดาวน์โหลดโบรชัวร์เรื่องการศึกษาด้านสวัสดิภาพสัตว์ (PDF 451 Kb) หรือที่เว็บไซต์เพื่อครูของ IN AWE : www.animal-education.org

เมษายน 2550 โครงการ IN AWE ได้รับการรับรองจากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก้) สำนักงานภูมิภาคละตินอเมริกาและแคริบเบียน ในประเทศชิลี และจากสมาคมนานาชาติว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสัตว์ (IAHAIO) เมื่อมิถุนายน 2551 (UNESCO regional office for Latin America and the Caribbean).


2.แนวคิดเรื่องสวัสดิภาพสัตว์ (CAW) และการอบรมวิชาชีพ

หลักสูตรแนวคิดเรื่องสวัสดิภาพสัตว์ถูกออกแบบมาเพื่อให้สะดวกแก่การเรียนการสอนเรื่องสวัสดิภาพสัตว์ในคณะสัตวศาสตร์ทั่วโลก สัตวแพทย์มีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงสวัสดิภาพสัตว์ทั้งด้วยตัวเองและการชักชวนผู้อื่น

หลักสูตรนี้พัฒนาร่วมกับโรงเรียนวิทยาศาสตร์ด้านสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยบริสตอล ในปี 2546 ต่อมามีการปรับปรุงซีดีรอมของหลักสูตรในปี 2551 และส่งเผยแพร่ไปในมหาวิทยาลัย 850 แห่งทั่วโลก มีผู้อาจารย์กว่า 400 คนเข้าร่วมการอบรมและการประชุมที่จัดโดย WSPA ยังสนับสนุนการฝึกอบรมอาชีพด้านการเกษตรที่ผสมผสานแนวคิดด้านสวัสดิภาพสัตว์เข้าไปด้วย

3. การเข้าถึงชุมชน และพัฒนาความเชี่ยวชาญอย่างต่อเนื่อง

เจ้าหน้าที่ด้านการศึกษาของ WSPA ยังช่วยเหลือโครงการอื่นๆ ของ WSPA และสนับสนุนโครงการด้านการศึกษาของสมาชิกสมาคมด้วยการจัดให้คำปรึกษา ความคิดเห็น เงินทุนและผู้เชี่ยวชาญ

แนะนำองค์กรในเครือข่าย ๑: สมาคมสร้างสรรค์ไทย /ตาวิเศษ

สมาคมสร้างสรรค์ไทย /ตาวิเศษ (Thai Environmental and Communitiy Development Association)



สมาคมสร้างสรรค์ไทยเปิดตัวต่อสังคมครั้งแรก ในปีพ.ศ. 2527 และใช้โลโก้ “ ตาวิเศษ ” เป็นทั้งสัญลักษณ์ขององค์กร ( Group symbol) และ โลโก้ที่ใช้ในการรณรงค์( Project logo) โดย คุณหญิงชดช้อย โสภณพนิช นายกสมาคมสร้างสรรค์ไทย ซึ่งมาจากการระดมสมอง หาแนวทางการรณรงค์เรื่อง “ ทิ้งขยะให้เป็นที่เป็นทาง ” โดยสังเกตจากลูกๆ ว่าเด็กๆชอบดูการ์ตูน จึงเกิดความคิดจะทำโฆษณาเป็นการ์ตูน พร้อมกับหาโลโก้ ( Logo) ที่จะเป็นตัวนำ เพื่อว่า ในอนาคต 20 ปี 30 ป้างหน้า ไม่ว่าจะเปลี่ยนไปทำกิจกรรมอะไรก็ยังสามารถนำโลโก้นี้ไปใช้ได้


สมาชิกชมรมสร้างสรรค์ไทยสมัยเริ่มก่อตั้ง ได้แก่

1. บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

2. บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด

3. บริษัท กรีนสปอต (ประเทศไทย) จำกัด

4. บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด

5. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

6. บริษัท เอส.เอส.ซี.บี. ลินตาส จำกัด

7. บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด

8. สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบก ช่อง 5

9. บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด ( ทีวีสีช่อง 7 )

10. สถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 ของ อ.ส.ม.ท.

11. บริษัท กมลสุโกศล จำกัด

12. บริษัท เสริมสุข (เป๊ปซี่) จำกัด

13. บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด

14. บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด

15. บริษัท ซิว-เนชั่นแนล จำกัด

16. บริษัท สยามกลการ จำกัด

17. บริษัท ไทยน้ำทิพย์ (โคคา-โคลา) จำกัด

18. บริษัท อุตสาหกรรมนมไทย จำกัด

19. บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด ( ทีวีสีช่อง 3 )



10 ปีแรกของตาวิเศษ เป็นการทำงานตามความต้องการ และการเรียกร้องของชุมชน ตลอดจนองค์กรต่างๆ เช่น โรงเรียน รวมทั้งข้อเสนอจากบุคคลทั่วไป” ทั้งนี้ การทำงานของตาวิเศษ ไม่ใช่การทำงานแทนผู้เรียกร้อง แต่ทำหน้าที่ประสานงานและอำนวยความสะดวก ตลอดจนเป็นพี่เลี้ยงวางแนวทางในการทำงาน โดยอาศัยความร่วมมือจากชุมชนหรือองค์กรในพื้นที่ และวางเป้าหมายให้ชุมชนหรือองค์กรเหล่านั้น สามารถทำงาน

ปัจจุบัน ตาวิเศษ หรือสมาคมสร้างสรรค์ไทย ก็ยังคงทำหน้าที่ในการประสานงาน และอำนวยความสะดวกให้คำปรึกษา ร่วมวางแนวทางในการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมกับการดำเนินชีวิตให้แก่โรงเรียน หน่วยงาน และองค์กรต่างๆ โดยอาศัยความร่วมมือจากชุมชน หรือองค์กรในท้องถิ่น ที่มุ่งเน้นความรู้สึกของการร่วมเป็นเจ้าของ และดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมของหน่วยงาน และท้องถิ่น ตลอดจนจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการดำเนินชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้แก่ผู้สนใจที่เป็นกลุ่มโรงเรียน บริษัท ห้างร้าน รวมทั้งการจัดกิจกรรมรณรงค์ให้แก่บุคคลทั่วไปหันมาร่วมกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมต่รโครงการ

เป้าหมายของตาวิเศษ คือการสร้างสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมให้แก่เด็กและเยาวชน จนถึงรุ่นผู้ใหญ่ ซึ่งต้องอาศัยการปลูกฝังจิตสำนึกอย่างต่อเนื่องในระยะยาว ดังนั้นโครงการให้การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง จึงถือเป็นหัวใจของการรักษาสิ่งแวดล้อมในระยะยาว

กระบวนการสำคัญของการให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม ก็คือ การจัดกระบวนการให้เด็กๆและกลุ่มบุคคลที่เราสื่อสารด้วยนั้นรู้ว่า ทุกคนมีส่วนในการสร้างมลพิษ และชี้ให้เห็นปัญหาตลอดจนแนวทางแก้ไข ในหลากหลายรูปแบบ ผ่านกระบวนการเรียนรู้และสื่อเรียนรู้เพื่อการรณรงค์ในโครงการต่างๆของตาวิเศษ ซึ่งสื่อที่ตาวิเศษเคยจัดทำภายใต้โครงการฯ ต่างๆ ในอดีตเช่น คู่มือ แผ่นพับโปสเตอร์ ฯลฯ ซึ่งให้ข้อมูลที่มาของปัญหา และแนวทางในการแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นคู่มือแยกขยะในโรงเรียน แผ่นพับแยกแก้วใบปลิวร่วมใจทำไทยให้สะอาด คู่มือการใช้น้ำ ฯลฯ เอกสารทั้งหมดเป็นการย่อยข้อมูลจากนักวิชาการนำมาเรียบเรียงให้อ่านเข้าใจง่ายเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่จะรณรงค์ ส่วนในปัจจุบัน ตาวิเศษมุ่งเน้นการสื่อสาร รณรงค์ผ่านเว็ปไซด์ www.magiceyes.or.th บทความสื่อสิ่งพิมพ์ และละครวิทยุ เป็นต้น ควบคู่ไปกับการเข้าไปมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการด้านสิ่งแวดล้อมให้แก่หน่วยงานเอกชนต่างๆ รวมทั้ง ร่วมเป็นวิทยากรกระบวนในการอบรมกับหน่วยงานต่างๆ

ปัจจุบัน ตาวิเศษ หรือสมาคมส้างสรรค์ไทยประกอบด้วย บริษัทสมาชิกดังต่อไปนี้

1. บริษัท กรีนสปอต จำกัด

2. สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์

3. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

4. บริษัท อุตสาหกรรมนมไทย จำกัด

5. บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด

6. สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11

7. สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7

8 . บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน)

9. บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด

10. กลุ่มบริษัทฮอนด้าในประเทศไทย

11. สถานีโทรทัศน์ ไทยทีวีสีช่อง 3 อ.ส.ม.ท.

12. บมจ.โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

13. บริษัท โลว์ จำกัด

14. บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด 1

15. สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5

16. บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด

17. บริษัท ปูนซิเมนต์ เอเชีย จำกัด (มหาชน)
 

Uadate รายชื่อสมาชิกของเครือข่าย (มิ.ย.๕๓)

กลุ่มครู นักการศึกษา และนักวิชาการ ในสถาบันการศึกษา

๑. รศ.ประสาน ตังสิกบุตร, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

๒. ผศ.ดร.เยาวนิจ กิตติธรกุล, คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต

๓. ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล, คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๔. อ.สันติภาพ ศิริวัฒนไพบูลย์, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี

๕. ผศ.ดร.บุญเชิด หนูอิ่ม, คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

๖. ผศ.รณิดา ปิงเมือง, คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย

๗. ดร.กาญจนา เชียงทอง, สำนักงานวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี

๘. ดร.อดิศักดิ์ สิงห์สีโอ, คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

๙. อ.ธันวา ใจเที่ยง, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎกาฬสินธุ์

๑๐. อ.สุภาดา ขุนณรงค์, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี

๑๑. อ.สุรีรัตน์ เทมวรรธน์, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี

๑๒. อ.จริยาภรณ์ มาสวัสดิ์, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยร มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา

๑๓. อ.ดร.จุฑารัตน์ วิบูลผล, คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๑๔. อ.ดร.วัชราภรณ์ แก้วดี, คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๑๕. อ.ดร.อารยา พละโชติ จาก มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา


๑๖. อ.ดร.สายสุนีย์ อุลิศ จาก มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

๑๗. อ.ลัดดา สุวรรณศิลป์ จาก โรงเรียนสตรีมหาพฤฒาราม




กลุ่มเจ้าหน้าที่ภาครัฐ
๑. คุณสาวิตรี ศรีสุข, กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

๒. คุณนันทวัน เหล่าฤทธิ์, กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

๓. ดร.จงรักษ์ ฐินะกุล, กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

๔. คุณโสภิต ศรีศาสตร์ธนมาศ, กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม


กลุ่มภาคประชาสังคมและองค์กรพัฒนาเอกชน

๑. คุณจีระนันท์ ชะอุ่มใบ สมาคมสร้างสรรค์ไทย (ตาวิเศษ)

๒. คุณตุ๊กตา ใจหาญ สมาคมสร้างสรรค์ไทย (ตาวิเศษ)

๓. คุณภูวดล น้ำดอกไม้ กองทุนสัตว์ป่าโลก (WWF, Thailand)
 
๔. คุณวัฐคณา ทองเรือง จาก Systainability Asia

๕. คุณธีระชาติ เจตนิลพันธุ์ จาก World Society for the Protection of Animals

ESD-network Seminar ครั้งที่ ๑

วันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดประชุมสัมมนาเครือข่าย ESD-network Seminar ครั้งที่ ๑ โดยในการสัมมนาครั้งนี้เน้นกลุ่มเป้าหมายผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Environmental Education for Sustainable Development: EESD) เป็นหลัก มีผู้เข้าร่วมสัมมนาซึ่งอยู่ในเครือข่ายการทำงานของศูนย์ฯ ที่มีอยู่เดิม

๑. คุณสาวิตรี ศรีสุข จาก กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม


๒. ดร.จงรักษ์ ฐินะกุล จาก กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

๓. คุณนันทวรรณ เหล่าฤทธิ์ จาก กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

๔. รศ.ประสาน ตังสิกบุตร จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

๕. ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล จาก คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๖. อ.ดร.วัชราภรณ์ แก้วดี จาก คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๗. อ.สันติภาพ ศิริวัฒนไพบูลย์ จาก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี

๘. อ.ดร.อารยา พละโชติ จาก มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

๙. อ.ดร.สายสุนีย์ อุลิศ จาก มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

๑๐. อ.ลัดดา สุวรรณศิลป์ จาก โรงเรียนสตรีมหาพฤฒาราม

๑๑. คุณจีระนันทน์ ชะอุ่มใบ จาก มูลนิธิสร้างสรรค์ไทย (ตาวิเศษ)

๑๒. คุณภูวดล น้ำดอกไม้ จาก WWF, Thailand

๑๓. คุณวัฐคณา ทองเรือง จาก Systainability Asia

๑๔. คุณธีระชาติ เจตนิลพันธุ์ จาก World Society for the Protection of Animals

และมีผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์ จำนวน ๔ คน


ที่ประชุม เห็นชอบให้มีการพัฒนาเครือข่ายโดยเน้นการสื่อสารแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน แผนงาน ทรัพยากร และข้อมูลจากการดำเนินงาน และสนับสนุนให้เครือข่ายมีบทบาทในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรขององค์กรต่างๆ ในเครือข่ายร่วมกัน นอกจากนี้ยังได้มีการหารือถึงแนวทางที่จะเชื่อมต่อเครือข่ายกับเครือข่ายอื่นๆ ทั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศ

ที่ประชุมได้กำหนดช่วงเวลาสำหรับการประชุม ครั้งที่ ๒ ในช่วง ปลายเดือน กรกฎาคม ๒๕๕๓ ทั้งนี้ให้ ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำหน้าที่ประสานงานการจัดประชุมครั้งที่ ๒ และเห็นควรให้องค์กรในเครือข่ายผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันทำหน้าที่ในหน่วยประสานงานข้อมูลผ่านเครือข่ายออนไลน์ และประสานงานการจัดประชุมเครือข่าย ทุก ๖ เดือน

ทั้งนี้วาระการประชุมสัมมนา ครั้งที่ ๒ ประกอบด้วย

๑. การรายงานความเคลื่อนไหวในการทำงานขององคืกรหรือหน่วยงานต่างๆ

๒. การนำเสนอผลจากการประชุม ศึกษาดูงาน หรือฝึกอบรม ของสมาชิกเครือข่าย (ดร.วัชราภรณ์ แก้วดี และคุณนันทวรรณ เหล่าฤทธิ์ ได้รับทุนฝึกอบรมจาก Japan Foundation ในด้าน ESD จะร่วมนำเสนอบทเรียนจากการฝึกอบรม)

๓. การพัฒนาแผนงานร่วมกัน


...................

สรุปและเรียบเรียง โดย ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล

วันเสาร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2553

สรุปประเด็นสำคัญจากการสนทนากลุ่ม World Café Session 4: EESD Mapping

สรุปประเด็นสำคัญจากการสนทนากลุ่ม World Café Session 4: EESD Mapping


กลุ่มผู้เข้าร่วมสนทนา จำนวน ๑๘ คน ประกอบด้วย ครู นักเรียน อาจารย์สถาบันอุดมศึกษา ตัวแทนจากภาครัฐ และองค์กรพัฒนาเอกชน ผู้นำเสวนา (ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล) ได้เปิดประเด็นการสนทนาโดยเชิญชวนให้ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยกำหนดคำถามหลักสำหรับการสนทนาไว้ ๓ คำถาม ได้แก่

- ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ด้วยวิธีการ/แนวทางอย่างไร และส่งผลอย่างไร

- โจทย์ใหม่ๆ หรือประเด็นร่วมสมัยที่ต้องเร่งดำเนินการสำหรับงานสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของไทย

- ‘ชิ้นส่วนที่หายไป’ ของงานสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของไทย คือสิ่งใด



จากการสนทนาพบประเด็นจากเรื่องเล่าต่างๆ ที่น่าสนใจ ดังนี้

๑. กิจกรรมหรือโครงการที่มีการดำเนินการภายใต้แนวคิดของสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน มีความหลากหลาย ทั้งในระดับบุคคล กลุ่มหรือชมรม โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา หน่วยงานหรือองค์กร โดยองค์กรสนับสนุนงบประมาณกิจกรรมหรือโครงการดังกล่าวเป็นองค์กรภายนอก ขณะเดียวกันก็พบว่ามีการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนจำนวนหนึ่งซึ่งเกิดจากความสนใจรายบุคคล จากนั้นจึงขยายขอบเขตเป็นการทำงานของกลุ่มที่ทำงานร่วมกัน เช่น ลุงสอน กล้าศึก คนปลูกต้นไม้ จากจังหวัดชัยภูมิ ผู้ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียว ประจำปี ๒๕๔๒ หรือ ดาบวิชัย แห่งบ้านขุขันธ์ จังหวัดศีสะเกษซึ่งได้เป็นแบบอย่างและแรงบันดาลใจให้เกิดกลุ่มอาสาสมัครปลูกต้นไม้ขึ้นในหลายพื้นที่

๒. กิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่ยึดโยงกับการศึกษาในระบบโรงเรียน เช่น กรณีของโรงเรียนเบ็ญจมะมหาราช จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมศึกษามาอย่างยาวนาน และปัจจุบันเข้าร่วมในโครงการโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Eco-School แม้จะยังมีกิจกรรมในลักษณะรณรงค์ลดการสร้างขยะ และทำความสะอาดเป็นหลัก แต่จุดแข็งที่สำคัญยังอยู่ที่การส่งต่อการทำงานระหว่างนักเรียนรุ่นพี่รุ่นน้องที่ดำเนินต่อเนื่องมามากกว่าสิบปี ในรูปแบบของกิจกรรมชมรม นอกจากนี้โรงเรียนยังได้สนับสนุนให้มีการเชื่อมต่อกับงานจิตอาสาในโครงการโรงเรียนพี่/โรงเรียนน้องอีกด้วย ส่วนกรณีการพัฒนาหลักสูตรบูรณาการและชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพ และสารปราบศัตรูพืช ของ โรงเรียนในจังหวัด ซัยธานี ส.ป.ป.ลาว ร่วมกับมูลนิธิการศึกษาไทย นับเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการทำงานที่กำหนดโจทย์ตามบริบทและความต้องการของชุมชน ซึ่งก่อให้เกิดการขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลง ปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐได้พิจารณาขยายผลการใช้หลักสูตรบูรณาการดังกล่าว

๓. กิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ในมิติของงานด้านการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นกรณีจากคำบอกเล่าของผู้เข้าร่วมประชุมจากมูลนิธิสืบ นาคะเสถียร ซึ่งหยิบยกเรื่องราวความพยายามของชุมชนกะเหรี่ยงบ้านกองมุ่งทะ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ที่เล็งเห็นถึงภูมิปัญญาในการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ ซึ่งถูกถ่ายทอดผ่านนิทานสอนชีวิต และได้ริเริ่มโครงการสอนภาษาเขียนให้กลุ่มเยาวชนในภาคฤดูร้อน เพื่อใช้ในการสานต่อเรื่องเล่าพื้นถิ่น ปัจจุบันโครงการดังกล่าวได้ดำเนินมาแล้ว ๔ ปี จนเยาวชนรุ่นแรกได้เริ่มเข้ามามีบทบาทเป็นผู้สอนรุ่นน้องในโครงการ เรื่องเล่าจากบ้านกองมุ่งทะ ได้สะท้อนให้เห็นมิติของการใช้เนื้อหาของงานด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาเป็นพลังขับเคลื่อนการสร้างความรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของให้เกิดแก่กลุ่มเป้าหมาย จนกลายเป็นการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในที่สุด

๔. สิ่งแวดล้อมศึกษาในกลุ่มเป้าหมายใหม่ ได้แก่ กลุ่มเด็กเปราะบาง (Vulnerable Children) ซึ่งมีโอกาสถูกชักจูงให้เกิดพฤติกรรมเบี่ยงเบน เช่น ก้าวร้าว รังแก หรืออันธพาล ฯลฯ ได้มีกลุ่มความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน สนับสนุนให้เยาวชนกลุ่มนี้ได้ร่วมกิจกรรมจิตอาสาร่วมดูแลชุมชน ซึ่งช่วยให้เด็กกลุ่มดังกล่าวรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง และเห็นคุณค่าของการทำงานในเชิงจิตอาสาที่มีส่วนดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมของชุมชน

๕. สิ่งแวดล้อมศึกษาที่เริ่มจากครอบครัว สถานที่ทำงาน และชุมชนของนักปฏิบัติ เช่น กิจกรรม คืนต้นไม้ที่บ้านเด็ก ของ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กิจกรรมจัดการขยะอย่างมีส่วนร่วมของพนักงาน และบุคคลากร ของ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร ทั้งสองโครงการมุ่งเน้นกิจกรรมที่กลุ่มเป้าหมายสามารถลงมือปฏิบัติได้ทันที และส่งเสริมการมีส่วนร่วมทั้งในการปฏิบัติ และการเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการดำเนินการ

๖. สิ่งแวดล้อมศึกษาที่ดำเนินการโดยการขับเคลื่อนขององค์การพัฒนาเอกชน เช่น มูลนิธิสร้างสรรค์ไทย (ตาวิเศษ) กองทุนสัตว์ป่าโลก ประเทศไทย (WWF) และโครงการลูกโลกสีเขียวของ ปตท. ด้วยประสบการณ์การทำงานที่ยาวนานทำให้องค์กร หรือโครงการดังกล่าวมีชุดความรู้ที่ได้รับการนำมาจัดการเพื่อขยายผลต่อเครือข่าย ผ่านการสื่อสารผ่านช่องทางใหม่ๆ เช่นเวปไซต์ของตาวิเศษที่เน้นให้ผู้เข้าเยี่ยมชมมีปฏิสัมพันธ์ได้มากขึ้น การถักทอเครือข่ายเยาวชนในโครงการลูกโลกสีเขียว ซึ่งเป็นการเสริมพลังให้กลุ่มเยาวชนในพื้นที่ต่างๆ ได้เกิดการรวมตัวเป็นเครือข่ายระดับภูมิภาค และการเปิดพื้นที่ศูนย์ศึกษาระบบนิเวศต่างๆ เช่น ในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง พื้นที่ชุ่มน้ำในเขตภาคอีสานตอนบน พื้นที่ชายฝั่งในเขตอ่าวไทยตอนบน ของ กองทุนสัตว์ป่าโลก ซ฿งเปิดโอกาสให้ความรู้ที่องค์กรได้รวบรวมไว้จากการทำงานภาคสนาม ได้รับการนำเสนอเป็นหลักสูตร และกิจกรรมที่จะเป้ฯประโยชน์ต่อผู้สนใจต่อไป

จากการสนทนาแลกเปลี่ยนเรื่องเล่าที่น่าประทับใจ อาจสรุปแนวโน้มที่น่าสนใจในกรทำงานสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งแสดงให้เห็นถึง “โจทย์การทำงานใหม่” และ ปัจจัยเงื่อนไขที่จัดว่าเป็น “ชิ้นส่วนที่หายไป” ได้ดังนี้

๑.การขยายกลุ่มเป้าหมายในการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมจากเดิมที่เน้นการทำงานเชิงรณรงค์กับโรงเรียน หรือการศึกษาในระบบโรงเรียน มุ่งไปสู่การทำงานร่วมกับชุมชน และการสร้างชุมชนนักปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาที่แตกต่างไปจากเดิม เช่น พนักงานหรือบุคลากรขององค์กร กลุ่มความสนใจในหมู่บ้าน เด็กและเยาวชนกลุ่มเปราะบาง ฯลฯ


๒. การกำหนดโจทย์การทำงาน ซึ่งได้แก่ ประเด็นหรือหัวข้อการเรียนรู้ที่ตอบสนอง “ต้นทุน” ดั้งเดิมในพื้นที่ อันได้แก่ ทุนธรรมชาติ ทุนสังคม ทุนภูมิปัญญา

๓. การพิจารณาถึงกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา ในฐานะกระบวนการเรียนรู้ที่มีลักษณะสำคัญ ๔ ประการ ได้แก่

มีความเป็นองค์รวม (Holistic View) สร้างความรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของ (Ownership-based) เสริมสร้างพลังให้แก่บุคคลและชุมชน (Empowering) และเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม (Participatory)









สรุปและเรียบเรียงโดย ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล

วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553

เก็บความจากโต๊ะเสวนาที่ปรึกษาอีโคสคูล

ขออภัยผู้ติดตามที่ บก.บลอกหายหน้าไปยุ่งภารกิจเรื่องเรียนจนไม่ได้อัพเดตบลอกเกือบเดือนเศษ กลับมาคราวนี้ได้เรื่องที่น่าสนใจหลายเรื่องที่จะทยอยอัพเดตให้ได้ติดตามกันครับ

เริ่มจาก คุณตุ๊ก นันทวรรณ เหล่าฤทธิ์ ได้ช่วยเรียบเรียงประเด็น จากการเสวนาในการประชุมคณะที่ปรึกษาวิชาการโครงการอีโคสคูล ไปเมื่อเดือน ม.ค. ติดตามอ่านกันได้เลยครับ

............................................


สรุปผลการประชุม coaching team


โครงการโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน: Eco-school

ระหว่างวันที่ 17-18 มกราคม 2553 ณ โรงแรมกานต์มณี กรุงเทพฯ





รศ.ประสาน/ มช. (นำเสนอเพื่อเปิดประเด็นการเสวนา)

o การสร้างความรู้ ความเข้าใจของงาน EE และ ESD เพื่อเป็นฐานความรู้ของ coaching team ผ่านเนื้อหา 3A : Awareness Attitude Action

o กระบวนการสร้างปัญญาของมนุษย์ที่จะต้องเกิดขึ้นจากภายใน และการเรียนรู้จากภายนอกจะเป็นการช่วยเติมเต็ม ดังนั้นการทำ Education for all แรกเป็นการมองโรงเรียนเป็นตัวตั้ง และช่วงหลังเป็นการเอาชุมชนเป็นตัวตั้ง ทำให้ระบบมันไม่สามารถเกิดการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนแปลงได้ทันที

ดังนั้นการให้ความรู้อย่างไร โลกจึงจะอยู่รอด เพราะระบบการศึกษาเป็นการเอาความรู้เข้าไปใส่ แต่ไม่ได้ยั่งยืน แต่เป็นการยืดเวลาเพื่อปรับสมดุลใหม่

- มิติของความยั่งยืน คือ ความยั่งยืนในรุ่นนี้และรุ่นหน้า เพื่อให้คนสามารถปรับตัวเองเข้าสู่สมดุล

- การแสวงหากระบวนการที่ยั่งยืนในการทำงานร่วมกับโรงเรียน ท่ามกลางระบบการบริหารจัดการของศธ.ประกอบกับกระบวนการสร้างเด็กและการวัดผลที่ไม่สามารถตอบสนองต่อความยั่งยืนได้ เราจะต้องมีจุดยืนและเป้าหมายการทำงานอย่างไร

- การพัฒนาโรงเรียน Eco-school มีที่มาจาก Scotland ที่กระจายสู่ออสเตรเลียที่สามารถดำเนินการได้ทั้งระบบและทั้งประเทศ ในระดับภูมิภาคของเอเซียที่มองแล้วน่าสำเร็จ คือ เกาหลี ญี่ปุ่นและจีน ที่กระบวนการพัฒนาสามารถเชื่อมโยงระหว่างการเรียนรู้ภายในและภายนอก

o การเรียนรู้ตามแนวทางที่ UNESCO ได้เสนอไว้ประกอบด้วยการเรียนรู้ 4 ประการ คือ

1. Learn to know เรียนรู้เพื่อให้มีความรู้ และมีวิธีการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถนำความรู้ วิธีการเรียนรู้ ที่ได้มาไปต่อยอด แสวงหา หรือผลิตสร้างความรู้ใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

2. Learn to do เรียนรู้เพื่อที่จะทำเป็น หรือใช้ความรู้ไปประกอบอาชีพ และสร้างประโยชน์ให้แก่สังคม

3. Learn to be เรียนรู้เพื่อที่จะเป็นผู้ที่รู้จักตัวเองอย่างท่องแท้ สามารถพัฒนาตนเองได้

4. Learn to live together เรียนรู้เพื่อดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่นๆ ในสังคมได้อย่างมีความสุข และสร้างสรรค์

สิ่งที่น่าสนใจ คือ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นอยู่ในโรงเรียนไม่สามารถสร้างคนเพื่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อโลกอนาคตได้ จึงมีคำถามว่า เพราะอะไร ทำไมเป็นเช่นนั้น....



ผศ.อรรถพล/ จุฬาฯ

สิ่งแวดล้อมศึกษามีส่วนอย่างมากในการช่วยให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างโรงเรียนกับชุมชน โดยอาศัยช่องทางการเรียนรู้ผ่านหลักสูตรและการเรียนการสอน เริ่มจากเด็กไปสู่ชุมชนและในมุมกลับกันอาจเริ่มจากชุมชนมาหาเด็ก การเรียนรู้ตามแนวทางของ EE และ ESD จึงไม่ใช่เพียงตอบโจทย์การเรียนรู้ทั้ง 4 ประการตามที่ UNESCO ได้เสนอไว้ แต่ยังไปถึงระดับของ การเรียนรู้เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หรือ Learning to Transform เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งภายใน และภายนอกตัวผู้เรียน



อ.ดร.อดิศักดิ์ / มมส.

Green school กับ Eco-school แตกต่างอย่างไร และใช่หรือไม่ที่ Green school ส่วนใหญ่จะเน้นการพัฒนาหลักสูตร


ผอ.สาวิตรี/กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

กรณีกรมส่งเสริมคุณคุณภาพสิ่งแวดล้อม ใช้คำว่า Eco-school เพราะรากศัพท์มาจากคำว่าบ้านในภาษากรีกที่ต้องการพัฒนาโรงเรียนให้เหมือนเป็นบ้านของเด็ก ซึ่งแต่ละประเทศก็คงมีหลักคิดของตัวเองอยู่


อ.ดร.อดิศักดิ์/มมส.

คล้ายกับหลักคิด Green school ของกระทรวงศึกษาหรือไม่ ซึ่งจะเป็นการสร้างภูมิทิศน์ แต่ Eco-school คือการสร้างโรงเรียนให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน


รศ.ประสาน/ มช.

Eco-school มีความเชื่อมโยงระหว่าง มิติของการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรธรรมชาติ หรือที่เรียกว่า การพัฒนาที่ยั่งยืน ที่ฐานคิดของมิติเหล่านี้ จะเชื่อมโยงสู่ การตัดสินใจทางการเมือง การสร้างรายได้จากการทำงาน และการอยู่กับการรองรับจากธรรมชาติ

ประเด็นที่สำคัญมาก คือ ประเทศไทยขาดการเชื่อมต่อระหว่างมิติต่างๆ เช่น วิทยาศาสตร์ และสังคม

วัตถุประสงค์ของสิ่งแวดล้อมศึกษา ที่ประกอบด้วย Awareness Knowledge Attitude Skills ซึ่งกระบวนการ EE คือ การเรียนเพื่ออยากรู้ และเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาร่วมกับเพื่อนมนุษย์ ซึ่งหลักการเดียวกับการจัดการความรู้ KM

กระบวนการการเรียนรู้ ของ EE คือ การเรียนรู้ เกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อม, การเรียนรู้ ใน สิ่งแวดล้อม และ การเรียนรู้ เพื่อ สิ่งแวดล้อม

ซึ่งทั้ง 3 ด้าน เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่คล้ายกระบวนการวิจัย ในแบบการวิจัยและพัฒนา (R&D) การเรียนรู้ เพื่อ สิ่งแวดล้อม เป็นเสมือนการเรียนรู้เพื่อคนอื่นๆ ซึ่งนอกเหนือจากมิติของตัวเอง ซึ่งคล้ายกับจริต+จิตวิญญาณ หรือบางครั้งรวมเรียกว่า จิตสำนึก นั้นเอง เป็นการมองข้ามจากตัวเองแล้ว แต่เป็นการมองเพื่อโลกเพื่อคนอื่น เพราะฉะนั้นการสร้างเด็กสำหรบความยั่งยืน จะต้องสร้างให้เด็กเรียนรู้ด้วยตัวเด็กเอง

กระบวนการประเมินผลหรือวัดผล จะต้องใช้กระบวนการด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาเป็นสัญญาณจับ


อ.สุภาดา / มรภ.เพชรบุรี

โรงเรียนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจแก่นของกระบวนการของสิ่งแวดล้อมศึกษา หรือ about / in / for


รศ.ประสาน/ มช.

ต้องมองงาน 2 ระดับ คือ การใช้เป็นประเด็นของการเรียนรู้ กับ ความสามารถเชื่อมโยงให้ดำเนินการและทำได้ทั้งโรงเรียน เพราะเป็นเรื่องของกระบวนการเรียนรู้ แต่ยังไม่เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้


อ.สันติภาพ/ มรภ.อุดรธานี

การทำงานเริ่มจากตรงไหนก็ได้ แต่จะต้องเป็นการทำงานจากเด็ก ไม่ใช่การถูกสั่งให้ทำ และที่สำคัญ คือ การเชื่อมโยงให้สามารถขับเคลื่อนได้ทั้งระบบ และกระบวนการขับเคลื่อนผ่านเด็ก จุดที่เคลื่อนได้ดี คือ การที่ผู้บริหารเห็นด้วย และสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ มีการทำงานเชื่อมต่อกับเครือข่ายของผู้ปกครองและชุมชน


ผศ.อรรถพล/จุฬาฯ

ล่าสุด เมื่อปลายเดือนสิงหาคม ปี 2009 ACCU ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านวัฒนธรรมภายใต้ UNESCO ได้จัดประชุมนักวิชาการด้าน ESD ในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค เพื่อกำหนดวาระการทำงานร่วมกันสำหรับครึ่งทศวรรษหลังของทศวรรษการศึกษษเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน คณะทำงานได้ยกร่างคำประกาศโตเกียว เพื่อให้ที่ประชุมได้พิจารณา และได้ประกาศเป็น ปฏิญญาโตเกียว (Tokyo Declaration) ซึ่งได้หยิบยกประเด็นที่เป็นคุณลักษณะสำคัญของการทำงานด้าน ESD และใช้ตัวย่อว่า H.O.P.E ซึ่งได้แก่

Holistic View การพิจารณาอย่างเป็นองค์รวม

Ownership-based การสร้างสำนึกร่วมเป็นเจ้าของ

Participation การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

Empowerment การเสริมสร้างพลังและความเข้มแข็งแก่กลุ่มเป้าหมาย


ผศ.ดร.เยาวนิจ/ มอ.ภูเก็ต

การมองว่าการตรวจสอบว่าโรงเรียน เป็น Eco-school รึยังนั้น กระบวนการเรียนรู้ของเด็กจะต้องเรียนรู้จากวิถีชีวิตของแต่ละชุมชน


รศ.ประสาน/ มช.

ครูสิ่งแวดล้อมศึกษา จะต้องมีคุณสมบัติ 4 ประการ คือ

1. รักลูกศิษย์

2. มีอุบาย การเป็นผู้ประสานสิบทิศ

3. ใฝ่หาความรู้

4. เป็นนักจัดการความรู้


- ESD ของประเทศไทยมีแผนแม่บทและยังไม่ได้นำมาใช้อย่างแท้จริง ซึ่งในอาเซียนพยายามบูรณาการเรื่อง ESD เข้าสู่ระบบของสังคมไทยอย่างแท้จริง

- นโยบายสาธารณะ ที่ระบบโครงสร้างทางอำนาจในเชิงนโยบายไม่มีประสิทธิภาพเข้ามาเกี่ยวข้องกับระบบการศึกษาของไทย เป็นเรื่องที่น่าเศร้ามาก เพราะการผลักดันเชิงนโยบายอยู่ในสภาพที่ติดลบ การมองเรื่อง ESD ยังมองเป็นเช่นงานฝากอยู่

- การสร้างความร่วมมือของเครือข่ายมีข้อจำกัด

- โครงสร้างการบริหารงานในระบบราชการไทยเกิดความล่าช้า

- หัวใหญ่ทางการเมืองของการผลักดันนโยบายสาธารณะไม่ผลักดันนโยบายให้ชัดเจน

- ทักษะการจัดกิจกรรมและการบริหารหลักสูตรยังขาดการมองภาพรวม

- การขาดความตระหนักเพื่อเรียนรู้เรื่อง ESD อย่างจริงจัง ในเชิงนโยบาย

- รูปแบบการกระจายอำนาจและรวมศูนย์ของนโยบายรัฐขาดประสิทธิภาพในหลายหน่วยงาน

- การหาเรียนรู้และค้นคว้าหาความรู้ในเชิงลึกเรื่อง ESD ที่แท้จริง ซึ่งเป็นการเรียนรู้

ด้วยตนเอง ผ่านงานวิจัย

- มีหลายพื้นที่อยากทำโรงเรียนประชาบาลเป็นหลักการ เพื่อให้กระบวนการทำงาน

ในโรงเรียนทั้งระบบสามารถทำได้

- ESD เป็นเรื่องของมุมมองในการประยุกต์ใช้ และทำงานร่วมกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ

- การจัดฝึกอบรมที่เติมเต็มวิธีการมากเกินไป แต่ขาดการเตรียมเต็มวิธีคิด

- การมีความหลากหลายของ Coacher ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และทำงานที่หลากหลาย ซึ่งยังขาดความเป็นเอกภาพขององค์ความรู้ ยังไม่ได้ถูกการสังเคราะห์

- โรงเรียนที่ผ่านกระบวนการมักจะผ่านระบบการประเมินของ สมศ. ในระดับดีถึงดีมาก

- ระบบการบริหารโรงเรียนในเมืองไทยไม่เอื้อให้เกิดกระบวนการพัฒนาโรงเรียนที่แท้จริง

- องค์ความรู้ที่ควรต้องรู้

+ การจัดหลักสูตรการเรียนรู้ในโรงเรียน

+ จิตวิทยา และโครงสร้างการเรียนรู้ของมนุษย์ BBL

- การวัดผลการเรียนรู้ที่มองจาก Productive Oriented แทนการวัดแบบเดิม ซึ่งจะเป็นผู้เรียนเป็นคนบอกว่าตนเองรู้อะไรจากการสื่อสารหรือกระบวนการเรียนรู้

- การเชื่อมโยงความรู้เพื่อทราบความเคลื่อนไหวของ EE และ ESD

- กระบวนการสร้าง Coacher ที่ต้องรู้จริง รู้ลึก รักงาน เพื่อที่จะได้ลงลึกในงานร่วมกัน

- การทำ Node Cooperative Function ที่ไม่ได้ทำหน้าที่จัดการแต่จะเป็นกระบวนการที่ให้และส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้เพื่อทำงานร่วมกัน

- การใช้กระบวนการวิจัยเพื่อหาตัวตน หาความรู้ เพื่อทำงานเป็นทีม

- ในระดับกรมฯ ควรทำการฝึกอบรมเชิงนโยบายมากกว่าการทำฝึกอบรมปกติ

- การเอาสื่อสารมวลชนมาร่วมสร้างกระบวนการเรียนรู้

- เสนอแผนปี 53 การฝึกอบรมควรทำตั้งแต่ระดับนโยบาย ผู้ปฏิบัติการ(ผอ.+ครู) NGOs

ผู้ประสานงานระดับ Node เพื่อเป็นทีมการบริหารงานต่อ

- การกระจายตัวของโรงเรียนที่ควรมีครบทุกจังหวัดและอยากเห็นว่า สองปีจะมีครบทุก สพท. การพัฒนา Coacher

- การตั้งงบผูกพันเพื่อทำแผนการทำงานทั้งห้าปี ไม่รอคอยงบแผ่นดิน

- การตั้งงบภายในมหาวิทยาลัย เป็นไปได้ไหม ซึ่งจะต้องกับภารกิจของการส่งเสริมวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม หรือการสร้างเป็นรายกรณี

- การทำ MOU กับมหาวิทยาลัย หรือใส่ในชุดวิจัยของ วช. ซึ่งจะได้งบประมาณระยะยาว 5 ปี


ผศ.อรรถพล/จุฬาฯ

- การจัดค่ายเด็กเพื่อถอดบทเรียนจากการทำงานโครงการอีโคสคูลที่ผ่านมา ภาพรวมของการออกแบบกิจกรรมนั้น พยายามเน้นกิจกรรมที่เด็กลงมือทำเพื่อเรียนรู้ ขณะเดียวกันก็อาศัยการสังเกตสิ่งที่เด็กทำเป็นร่องรอยในการถอดประสบการณ์และพิจารณาถึงต้นทุน/ความเปลี่ยนแปลงที่เด็กๆ มีอยู่

ในการจัดค่ายได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายที่เป็นทุนเดิม คือ ทีมงานจาก WWF และตาวิเศษ เนื้อหาของการทำกิจกรรมมีตั้งแต่กระบวนการเรียนรู้จากตัวเด็ก (ตัวเอง) ไปสู่ระดับของชุมชนนิเวศที่ใหญ่ขึ้น (เช่น ลุ่มน้ำ) และนำเสนอตัวอย่างของโรงเรียนที่ทำงานคล้ายคลึงกับ Eco-school ทั้งในและต่างประเทศ เช่น กรณีตัวอย่างจากมาเลย์เซีย กรณีตัวอย่างโรงเรียนสิ่งแวดล้อมจากโครงการอื่นๆ


อ.สันติภาพ/มรภ.อุดรธานี

พัฒนาการของโครงการและกระบวนการเรียนรู้ของโครงการ และกระบวนการทำให้เกิดความยั่งยืนของงาน เพื่อต่อยอดจากงานเดิม

- การตั้งงบประมาณในการทำงานที่ผ่านมา เพื่อตั้งงบประมาณรองรับโครงการฯ เพราะมีหน่วยงานของโรงเรียนต่างสังกัดเช่น สังกัด อปท. ก็พร้อมที่จะสนับสนุนงบประมาณ

- ได้เรียนรู้จากการทำงานทั้งกระบวนการสอน การเรียนรู้ข้อจำกัดของโรงเรียน การเรียนรู้ว่าประเทศไทยยังมีครู ผู้บริหารดีๆอยู่มากในสังคมไทย การเห็นเด็กที่มีศักยภาพในการเรียนรู้และทำงานในวิถีชีวิต และมองเห็นครูเสียเวลากับการสอนหนังสือ แต่ไม่ได้สร้างกระบวนการเรียนรู้แก่เด็ก และโรงเรียนยังไม่มีการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ได้ปฏิบัติจากการมองเห็นเวลาลงพื้นที่ การเรียนรู้กับชุมชนที่มีผู้รู้มาก หลายสิ่งหลายอย่างที่ชุมชนมีนั้นยังไม่เท่าทันกับการเคลื่อนไหวของโครงการพัฒนาจากภาครัฐ การมีเพื่อนจากการทำงาน และการเห็นเด็กมีเพื่อนจากการโครงการ

- การมองตนเองว่า จะต้องเรียนรู้อะไรอยู่มาก และมองการเชื่อมโยงมาสู่ระบบการจัดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย


ผศ.อรรถพล/จุฬาฯ

- จากการคลุกคลีอยู่กับเครือข่ายของโครงการโรงเรียนอีโคสคูลมา ๒-๓ ปี ช่วยทำให้มองเห็นภาพของอีโคสคูลและงาน EE ชัดมากขึ้น ไม่ใช่เพียงการจับภาพไปที่ส่วนใดส่วนหนึ่ง แต่เห็นองค์รวมจากการทำงานของครูและเด็ก มองเห็นศักยภาพของเด็กในฐานะผู้นำความเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจน เช่นกรณีเด็กนักเรียนที่ ร.ร.ตาคลีฯ จ.นครสวรรค์ ได้แรงบันดาลใจในการทำงาน EE จาก Idol ที่เป็นนักเรียนรุ่นพี่แกนนำสิ่งแวดล้อม ภายในโรงเรียน และยังได้พบเจอครูอาจารย์อีกหลายคน ที่มองเห็นความศักดิ์สิทธิ์ในการเรียนรู้ของเด็ก ขณะเดียวกันก็ได้พบข้อสังเกตว่ายังมีโรงเรียนอีกหลายโรง ที่มีความทุ่มเทพยายาม ทำงานมากแต่กลับได้งานน้อย ซึ่งเป็นโจทย์ที่ต้องมาช่วยกันขบคิดต่อไป


อ.เยาวนิจ/มอ.ภูเก็ต

- มองเห็น กระบวนการทำงานของครู ภายในโรงเรียนที่สร้างการเปลี่ยนแปลงภายในโรงเรียน เช่น รร.ธรรมวิทยามูลนิธิ มองเห็นว่า กระบวนการทำงานของโรงเรียนที่สามารถเคลื่อนและเปลี่ยนแปลงได้ด้วยตนเอง

- การทำงานได้เรียนรู้มากทั้งที่ไม่ได้จบด้านสิ่งแวดล้อมศึกษา อยากถ่ายโอนงานไปที่อื่นเพราะไม่มีนักศึกษาทำให้มีข้อจำกัดอยู่มาก


ผศ.รนิดา/ มรภ.เชียงราย

- มีข้อสังเกตเกี่ยวกับกรอบของ Whole School Approach บางครั้งการไม่มีกรอบในการทำงานและการไม่กำหนดกรอบตายตัวในการทำงานให้โรงเรียนดู อาจจะช่วยให้สิ่งที่เป็นตัวตนของโรงเรียนฉายภาพออกมาได้

- จากการมาประชุมคราวนี้มีแผนของการทำงานสิ่งแวดล้อมศึกษาและการศึกษาสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งงานจริงในภาคสนามชัดเจนมากขึ้น กระบวนการทำงานที่กำลังออกนอกมหาวิทยาลัยเพื่อเรียนรู้ และไม่อยากให้มีการกอดติดกับความหมายของคำ เพราะเป็นเพียงเส้นทางหนึ่งเท่านั้น และไม่ยึดติดกับชื่อของคำหรือความหมายเท่านั้น แต่จะมองภาพของความเป็นเจ้าของร่วมกันในการทำงาน เพราะทุกคนมีความสุขในการทำงาน และอยากให้ลองลงมือทำ


อ. ธันวา/มรภ.กาฬสินธุ์

มองกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษา ใน 2 ระดับ คือ กิจกรรมสิ่งแวดล้อมแบบที่เป็นอยู่ หรือขยายออกมาในระดับเพื่อชุมชน


ผอ.สาวิตรี/กรมส่งเสริมฯ

มองว่า ยังไม่มีวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา แต่สิ่งแวดล้อมศึกษาคือการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับเด็กเท่านั้น แต่เป็นสิ่งแวดล้อมศึกษาที่เข้าใจในบริบทของการเปลี่ยนแปลงของโลก และเด็กมีความเข้าใจในการใช้ชีวิตให้เข้ากับสมดุลของโลก


รศ.ประสาน/มช.

การวัดผลงานของเด็กจากคุณลักษณะมากกว่าการวัดความรู้ การวัดผลอาจจะไม่ได้มองจากตัวเราเป็นตัววัด แต่สังคมหรือชุมชนเป็นตัววัดแทน


อ.บุญเชิด/ม.บูรพา

- การใช้เครื่องมือของสิ่งแวดล้อม เข้ามาช่วยให้เกิดการเข้าถึงเพื่อเชื่อมโยงกับการดำเนินชีวิต มีสมมติฐานว่าทุกคนมีสำนึกด้นสิ่งแวดล้อม แต่ทำอย่างไรที่จะเอาภูเขาน้ำแข็งขึ้นมา

- การเอาภูมิสังคมว่าเป็นตัวเชื่อมโยงแทนที่จะมองภาพของการเอาโรงเรียนมาเป็นรายโรงเรียน แต่ถ้าใช้ภูมิสังคมมาเป็นตัวจับ

- การเอาครอบครัวแล้วขยายสู่โรงเรียน การทำโรงเรียนไว้เรียน ไม่ใช่โรงเรียนไว้สอน


อ.สุภาดา/มรภ.เพชรบุรี

- การทำงานสิ่งแวดล้อมศึกษาที่กินได้ด้วยจะต้องทำอย่างไร


ผศ.อรรถพล/จุฬาฯ

- ขอเชื่อมโยงไปหาโครงการวิจัยอีกเรื่องที่ทำอยู่กับ UNICEF และกระทรวงศึกษาฯ ได้แก่ โครงการโรงเรียนเพื่อนเด็ก ซึ่งในโครงการโรงเรียนเพื่อนเด็ก แม้จะไม่ได้พูดเรื่อง EE ไว้ แต่กลับปรากฎอยู่ในวิถีชีวิต เพราะการที่โรงเรียนต่อสู้กับข้อจำกัดด้านงบประมาณ ทำให้ต้องผลักดันโครงการเกษตรเพื่อาหารกลางวันในโรงเรียน  มีการเชื่อมโยงเข้าสู่หลักสูตร ดึงชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม เด็กเป็นตัวแสดงที่สำคัะญมาก เป็นการเรียนรู้จากสภาพที่เป็นอยู่จริง ทั้งสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ซึ่งเมื่อเอา element หลัก ของ ESD เช่น H.O.P.E. มาจับ จะเห็นได้ชัดมาก และในเนื้อหามีกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาซ่อนอยู่ เป็น EE ที่กินได้ ใช้งานได้


อ.สันติภาพ/มรภ.อุดรานี

- มหาวิทยาลัยที่มองภาพของการสร้างรายได้แบบง่าย แต่ไม่กระจายการเข้าถึงโอกาสในการทำกิจกรรม


รศ.ประสาน/มช.

- กระบวนการทำงานของโรงเรียนกับชุมชน ในการจัดการมลพิษแบบครบวงจร วิธีการทำงานของโรงเรียนที่ค่อยๆเรียนรู้ได้ชัดเจนมากขึ้น


ดร.กาญจนา/มรภ.กาญจนบุรี

- ปัญหาของลุ่มน้ำแม่กลองที่กาญจนบุรี ถังเก็บกระสวยจากธรรมชาติ ที่ต้องการเอาเด็กมาเป็นพลังร่วมรณรงค์จะทำงานอย่างไรในพื้นที่


ผศ.อรรถพล/จุฬาฯ

- ยกตัวอย่างกรณีโรงเรียนที่อำเภอเวียงป่าเป้า ที่ส่งเสริมให้เด็กทำงานร่วมกับผู้ใหญ่ และกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชน มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประเด็นที่จะเอาเด็กมาทำงานเพราะโรงเรียนไม่ได้แบกปัญหาสิ่งแวดล้อมของชุมชน แต่อาจมองเด็กเป็นผู้ส่งผ่านความรู้สู่ชุมชน

- พื้นที่การเรียนรู้ซ้อนกัน คือ พื้นที่ของปัญหา กับพื้นที่ของการเรียนรู้ ที่จะต้องเอากระบวนการสื่อสารมาเป็นหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งถ้าสามารถลดช่องว่างของข้อมูลจะช่วยให้กระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาสามารถเกิดได้อย่างแท้จริง


ดร.กาญจนา/มรภ.กาญจนบุรี

- ข้อสังเกต การสื่อสารระหว่างข้อมูลที่เป็นปรากฏการณ์ กับการพยากรณ์ข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญจะต้องมองให้ชัดเจน


อ.ดร.อดิศักดิ์/มมส.

- ในระดับอุดมศึกษา ยังมีคำถามเด็กเรียนด้านสิ่งแวดล้อมศึกษา เรียนไปแล้วได้อะไร เป็นสิ่งที่สังคมถามตลอด

- ประเด็นการมองที่เชื่อมต่อระหว่างสิ่งแวดล้อมศึกษากับเรื่องต่างๆ


อ.จริยาภรณ์/มรภ.ยะลา

- มองการทำงาน และเชื่อว่าสามารถทำได้ดี ถ้าสามารถคิดเชื่อมโยงกับเรื่องเศรษฐกิจ ก็จะเป็นสิ่งที่ทำได้ดี


รศ.ประสาน/มช.

- การเรียนรู้ที่เป็นศาสตร์และศิลป์ แต่ถ้าเราสามารถจับหลักของการเรียนรู้ที่เป็น Core ได้ก็จะสามารถทำงานนี้ได้สนุก


อ.สุรีย์รัตน์/มรภ.เพชรบุรี

- ไม่เคยเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษา แต่อยากให้ระดับนโยบายให้เห็นความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมในระดับหัวๆของหน่วยงาน




...........................

นันทวรรณ เหล่าฤทธิ์

เก็บความจากการประชุม

5 กุมภาพันธ์ 2553

วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553

การประชุมเครือข่ายที่ปรึกษาทางวิชาการ (Coaching Team) สำหรับโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Eco School)

ระหว่างวันที่ ๑๗ - ๑๙ มกราคม ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดให้มีการประชุมปฎิบัติการในโครงการขยายความร่วมมือเครือข่ายที่ปรึกษาทางวิชาการ (Coaching Team) โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ณ โรงเรียนกานต์มณีพาเลซ โดยมีคณาจารย์ จำนวน ๑๒ ท่าน จาก ๑๑ สถาบันอุดมศึกษา และนักสิ่งแวดล้อมศึกษาจำนวน ๖ ท่าน จาก ๓ หน่วยงาน เข้าร่วมการประชุม

สาระสำคัญของการประชุม ได้แก่ การสร้างความเข้าใจร่วมกันในทิศทางของงานด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ในระดับประเทศ และระดับภูมิภาค แนวคิดและแนวทางการทำงานของโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงานและการกำหนดทิศทางการทำงานร่วมกันระหว่างคณะนักวิชาการทีมที่ปรึกษาเดิม และกลุ่มทีมปรึกษาใหม่ นอกจากนี้ที่ประชุมยังเห็นควรให้มีการจัดกิจกรรมในลักษณะอาศรมเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนเสริมสร้างความเข้มแข็งของคณะทำงานในเครือข่าย และสนับสนุนให้มีการสื่อสารกันภายในเครือข่ายอย่างต่อเนื่องในรูปแบบต่างๆ

คณะครูและนักเรียน จากโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานี ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานด้านการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ร่วมกับนักวิชาการไทย-ญี่ปุ่น

ระหว่างวันพฤหัสบดีที่ ๑๔ - ๑๖ มกราคม ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับเจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ และ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย จัดโครงการประชุมปฏิบัติการ เรื่อง จากนโยบายสู่การปฏิบัติ: การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดำเนินงานการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับชุมชนระหว่างไทยกับญี่ปุ่น” ณ สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จ.ปทุมธานี



คณะครูและนักเรียนจากโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานี จำนวนประมาณ ๕๐ คน ได้รับเชิญให้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการประชุมดังกล่าว ซึ่งกิจกรรมการเรียนรู้แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ

ส่วนที่ ๑ การศึกษาดูงานภาคสนามของคณะครู ณ โรงเรียนรุ่งอรุณ ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาทางเลือก ที่ส่งเสริมสิ่งแวดล้อมศึกษาแบบองค์รวมและการสร้างความตระหนักทางสังคมระดับโรงเรียนประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษา โดยระหว่างการศึกษาดูงานได้มีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนแนวคิดและประสบการณ์ในการส่งเสริมการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ส่วนที่ ๒ การจัดกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษาสำหรับนักเรียน โดยการนำของ รองศาสตราจารย์ โรจน์ คุณเอนก  และคณาจารย์ นักศึกษา ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กิจกรรมประกอบด้วยการนำเสนอความรู้เรื่องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม/ฉายวิดิทัศน์ และเกมสิ่งแวดล้อมศึกษา โดยแบ่งออกเป็น ๕ ฐานการเรียนรู้ ได้แก่ กิจกรรมเพื่อสังคม (ทำความรู้จักกับ ISO 14,000 และ CSR) การอนุรักษ์พลังงาน การจัดการขยะโดยการหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ การลดการใช้สารเคมีในชีวิตประจำวัน และการประหยัดทรัพยากรในสำนักงาน

นอกจากนี้ยังมีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ โดย บริษัท อินทิเกรเต็ด ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด
 
ส่วนที่ ๓ การสัมมนาระหว่างคณะนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วย
 
การบรรยาย เรื่อง “ปัญหาและแนวโน้มด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาของประเทศญี่ปุ่นในอดีต ปัจจุบันและอนาคต” โดย ศาสตราจารย์ ดร. คิมิโกะ โคซาวะ แห่ง มหาวิทยาลัยโตไก ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีสาระสำคัญของการบรรยายที่กล่าวถึง พัฒนาการของงานด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาของญี่ปุ่นจากอดีตถึงปัจจุบัน กิจกรรมและโครงการด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาที่น่าสมใจ เช่น Junior Eco Club, EE in Paddyfield เป็นต้น บทบาทการสนับสนุนการทำงานโดยกลไกและนโยบายจากภาครัฐ



การอภิปรายและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดำเนินงานการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับชุมชนระหว่างไทยกับญี่ปุ่น โดย ศาสตราจารย์ ดร. คิมิโกะ โคซาวะ แห่ง มหาวิทยาลัยโตไก และอาจารย์ ทองดี แย้มสรวล โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อรรถพล อนันตวรสกุล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัย และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ดำเนินการเสวนา สาระสำคัญของการเสวนา มุ่งเน้นไปที่ประสบการณ์การทำงานด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทที่แตกต่างกัน การกำหนดประเด็นในการทำงาน และการพิจารณาถึงปัจจัยเงื่อนไข แรงสนับสนุนที่จะช่วยให้งานด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ



การอภิปรายและสัมมนาเชิงปฏิบัติการโต๊ะกลม เรื่อง "บทเรียนจากประสบการณ์ญี่ปุ่นเกี่ยวกับการดำเนินการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับชุมชน" โดย อาจารย์มาลี ทรงเกตุกุล ครูแกนนำ โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง คุณฐิตินันท์ ศรีสถิต อดีตกองบรรณาธิการนิตยสารโลกสีเขียว และอดีตผู้เข้าร่วมโครงการ JENESYS East Asia Future Leader (Youth Exchange) 2008 และคุณสุรินทร์ วราชุน นักสิ่งแวดล้อมศึกษา จาก WWF, Thailand โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์อรรถพล อนันตวรสกุล เป็นผู้ดำเนินการเสวนา สาระสำคัญของการเสวนา ประกอบด้วย การนำเสนอกรณีตัวอย่างการออกแบบกิจกรรมการเรียนแบบบูรณาการสิ่งแวดล้อมศึกษา ของโรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง  การนำเสนอประสบการณ์การศึกษาดูงานจากญี่ปุ่นซึ่งเน้นให้เห็นถึงการสนับสนุนอย่างจริงจังให้กิจกรรมการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาบูรณาการเข้าสู่วิถีชีวิตประจำวันของทุกคน ประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับครูและนักเรียนในโรงเรียน ของนักสิ่งแวดล้อมศึกษา





รายงานโดย Web Editor, EESD Network Thailand

วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553

Beyond Limits: Learning to Live Together Peacefully, Sustainably and Sufficiently

By Athapol Anunthavorasakul
(Director & Assistant Dean for Research,
Chulalongkorn University, Faculty of Education, Thailand)

anun_atha@yahoo.com


For more than five decades, His Majesty the King of Thailand, Bhumibol Adulyadej, has dedicated himself to promoting the well-being of the people of Thailand. He has initiated thousands of royal projects which have helped thousands of communities—in remote highlands, flood-prone areas, and endangered coastal regions.



In 1994, King Bhumibol proposed a comprehensive approach called “Sufficiency Economy” (SE) as a strategy for development. The approach was based on concrete experiences he had gathered from working with local people. It focuses on using indigenous knowledge in managing natural resources for livelihood and strengthening communities in remote areas for a better quality of life. King Bhumibol synthesized his observations and offered it to the Thai people to prepare them for risks and economic downturns, particularly the so-called “Tom Yum Kung” crisis.


Beyond Economics

Although the term has the word “economy”, Sufficiency Economy is not only about economic development, but also integrates socio-cultural and environmental development. The philosophy emphasizes a new set of ethical values, a holistic view, and self-reliance based at various levels—individual, group, community, and societal—to empower the people and motivate them to live harmoniously with nature. Sufficiency Economy also includes “balancing” and “cooperation with multi-stakeholders” to sustain the new values.

This innovative approach promotes the middle path of “not too little, not too much” in real life. It advocates critical thinking and decision-making processes as tools in achieving the three main SE principles—“moderation,” “reasonableness,” and “self-immunity.” When applying these principles, knowledge and ethics are recommended as necessary elements.



Today, the philosophy of Sufficiency Economy is being implemented in Thailand at multi-levels and in various sectors including agriculture, business, industry, and tourism. In 2006, Mr. Kofi Annan, the UN Secretary General at that time, presented the “Human Development Lifetime Achievement Award” to King Bhumibol. The UN chief said, “‘Sufficiency Economy’ philosophy . . . is of great relevance to communities everywhere during these times of rapid globalization. The philosophy’s ‘middle way’ approach strongly reinforces the United Nations’ own advocacy of a people-centred and sustainable path toward human development. His Majesty’s development agenda and visionary thinking are an inspiration to his subjects, and to people everywhere.”

In 2007, Thailand’s Human Development Report was published with issues on “Sufficiency Economy and Human Development.” The significant role of Sufficiency Economy as an alternative approach is now respected not only in Thailand but also throughout the world.

SE, Sustainability, and Peace

There are similarities among the values, concepts, and approaches between Sufficiency Economy (SE) and other contemporary innovations such Education for Sustainable Development (ESD) and Education for International Understanding (EIU).

First, they promote the cultivation of human values and harmonious living among people, within people, and between human and nature. SE respects the limits and values of natural resources and offers a way for people—especially agriculturalists who work closely with nature—to use local wisdom and creative technology in food production, while conducting resource management toward sustainability.



Second, the SE principles of “moderation,” “reasonableness,” and “self-immunity” can be equated with the EIU concept of “inner peace” which is not only about the harmony between people, but within people.

Third, SE, ESD, and EIU approaches promote “intra-personal transformation” as well as empower communities through individuals and groups working together to create a new set of values and lifestyle for a better future. In these efforts, ESD/EIU educators and SE workers should promote critical thinking and decision-making as significant tools for communities.

Lastly, ESD and EIU offer a space for dialogue between the “local” and the “global” on development issues. In the writer’s opinion, SE should be considered as a local initiative—formulated and implemented in the context of Thailand—for sustainable development and the creation of a culture of peace.


Sufficiency in Schools




In expanding SE to cover the educational arena, there are thousands of schools and institutes in Thailand where people are attempting to reorient their schools towards sufficiency.



In remote areas where people have limited income but have access to natural resource, SE is used as a strategy to encourage teachers, students, and villagers to work together in managing a school lunch program through “self-reliance.” Planting and feeding programs are included in the school curriculum. Villagers, including parents, attend the program as resource persons in class, as labor in preparing the plot for agricultural activities, and as experts for monitoring and evaluation. A group of housewives volunteer in preparing lunch for the school children. They also teach the young girls how to prepare meals for a hundred students, while the boys do the planting with help from local experts.

School Initiative: Working Together

In urban areas, SE provides opportunities to communities through a school initiative called the Service Learning Project where students conduct a survey of needs and problems of their communities. Some communities promote waste management and the reduction of energy, while others use SE principles to revise their activity planning.



The SE school program has shown that the school is a place where people can live together peacefully, sustainably, and sufficiently. With limited budget and resources and without support from external organizations, a new life in schools has been created by a network of students, teachers, administrators, and community members.

In the writer’s opinion, now that ESD and EIU are being promoted globally through UNESCO’s network of partner organizations, Sufficiency Economy is Thailand’s response—a local initiative and an entry point to the path of sustainability and culture of peace.


...............................................................................

Source

Athapol Anunthavorasakul. "Beyond the limits, learning to live together peacefully, sustainably and sufficiently". Sansaeng Magazine. UNESCO Asia-Pacific Centre of Education for International Understanding. No.26 Autumn 2009

วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2553

มุ่งสู่ความยั่งยืน: จิตสำนึกใหม่เพื่ออนาคตที่ดีกว่า

บทความโดย อรรถพล อนันตวรสกุล




โจเอล อี โคเฮน (Joel E. Cohen) ศาสตราจารย์ด้านประชากรศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ได้รายงานการคาดการณ์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านประชากรศาสตร์ไว้ในหนังสือ Crossroads for Planet Earth (2005) ซึ่งผู้เขียนเห็นว่ามีความสำคัญยิ่งและใคร่ขอนำเสนอเป็นข้อมูลเพื่อเปิดประเด็นความคิดไว้ ดังนี้

.........................................................................

ในปี 1950 โลกมีประชากร 2.5 พันล้านคน ในปี 2005 ประชากรโลกเพิ่มขึ้นเป็น 6.6 พันล้านคน และคาดการณ์ว่าในปี 2050 ประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 9.1 พันล้านคน

จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นระหว่างปี 2005 ถึง ปี 2050 คือ 2.5 พันล้านคน นั่นเท่ากับว่า ภายใน 45 ปี โลกจะมีประชากรเพิ่มขึ้นเท่ากับจำนวนประชากรทั้งหมดที่โลกมีในปี 1950

หลังจากปี 2005 เป็นต้นไป โลกจะมีประชากรเพิ่มขึ้นปีละ 74 – 76 ล้านคน หรือกล่าวได้ว่าทุกๆ 4 ปี โลกจะมีประชากรเพิ่มขึ้นเท่ากับจำนวนประชากรทั้งหมดของสหรัฐอเมริกา

จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นมากกว่าครึ่งอาศัยอยู่ใน 9 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน ไนจีเรีย คองโก บังคลาเทศ อูกันดา เอธิโอเปีย จีน และสหรัฐอเมริกาโดยประชากรที่เพิ่มขึ้นของสหรัฐอเมริกานั้น 1 ใน 3 มาจากการอพยพเข้า

ประเทศเยอรมนี ญี่ปุ่น อิตาลี รัสเซีย และอีก 47 ประเทศที่มีเศรษฐกิจมั่นคง จะมีประชากรลดน้อยลง

อายุขัยเฉลี่ยประชากรโลกในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 อยู่ที่ 30 ปี ขณะที่อายุขัยเฉลี่ยประชากรโลกในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 อยู่ที่ 65 ปี

ก่อนปี 2000 ประชากรในวัยหนุ่มสาวมีมากกว่าประชากรสูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) แต่หลังจากปี 2000 เป็นต้นไป สัดส่วนของประชากรสูงอายุจะมีมากกว่าประชากรในวัยหนุ่มสาว

ในปี 2050 ประชากรสูงอายุในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 1 ใน 3 ขณะที่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนา และกลุ่มประเทศด้อยพัฒนาสัดส่วนของประชากรสูงอายุเมื่อเทียบกับประชากรทั้งหมดคิดเป็น 1 ใน 5

ปี 2050 ในกลุ่มประเทศยากจนจะเกิดชุมชนเมืองที่มีประชากรอาศัยอยู่มากกว่า 1 ล้านคน เพิ่มขึ้นทุกสัปดาห์

.........................................................................................

การประเมินสถานการณ์ด้านประชากรดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความเสี่ยง ภาวะคุกคามและขีดจำกัดสำคัญที่มวลมนุษยชาติจะต้องเผชิญหน้าในอนาคตอันใกล้ไว้หลายประการ สามารถวิเคราะห์เป็นประเด็นสำคัญที่เราควรพิจารณาถึง 6 ประการ คือ


1. การเพิ่มขึ้นของประชากร สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการ อาหาร น้ำดื่ม พลังงาน ที่อยู่อาศัย และระบบสาธารณูปโภค ซึ่งปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ล้วนจำเป็นที่ต้องมีการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้เป็นวัตถุดิบ ขณะเดียวกัน การเพิ่มขึ้นของประชากรยังแสดงให้เห็นถึงปริมาณขยะและของเสียที่จะเกิดขึ้นอย่างมหาศาล ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของขนาดรอยเท้าทางนิเวศ (Ecological Footprint) ที่แต่ละสังคมทิ้งไว้กับสิ่งแวดล้อมธรรมชาติทั้งในประเทศตน และในพื้นที่อื่นๆ


2. สัดส่วนการเพิ่มขึ้นและลดลงของประชากรในกลุ่มประเทศที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และกลุ่มประเทศยากจน ชี้ให้เห็นถึงสถานการณ์ปัญหาความยากจน การขาดแคลนอาหาร และภาวะทุพพลโภชนาที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้น นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของการเคลื่อนย้ายประชากรที่เป็นแรงงานจากกลุ่มประเทศยากจนซึ่งจะหลั่งไหลเข้าสู่ประเทศพัฒนาแล้วที่มีการจ้างงาน มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมมากกว่าในการดำรงชีวิต


3. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร จากสังคมที่มีประชากรวัยแรงงานเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งมีกำลังความสามารถการผลิตและการแข่งขันลดลง แต่มีกำลังซื้อสูง มีความต้องการการดูแลจากภาครัฐเพิ่มมากขึ้น ภาระหน้าที่ในการเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศของคนหนุ่มสาวมีมากขึ้น ขณะที่ต้องประสบกับปัญหาแรงงานข้ามชาติราคาถูก


4. การขยายตัวอย่างมากของเมือง และมีกระจายตัวของชุมชนเมืองขนาดใหญ่ในทั่วทุกทวีป ทำให้สัดส่วนของการผลิตภาคอุตสาหกรรม การค้าและการบริการทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ขณะที่ภาคการเกษตรถูกลดความสำคัญลง ทั้งๆที่ความต้องการอาหารเพิ่มสูงขึ้น อุตสาหกรรมอาหารและพลังงานจะถูกผูกขาดโดยกลุ่มทุนขนาดใหญ่


5. สังคมจะมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม (Multicultural Society) มากขึ้น เนื่องจากการอพยพของแรงงานและประชากรจากแทบทุกทวีป การดำรงชีวิตอยู่ท่ามกลางความหลากหลายและความขัดแย้งทางเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม จะเป็นประเด็นปัญหาสำคัญที่ประชากรในอนาคตต้องเผชิญ


6. ปัญหาความยากจน ความไม่เท่าเทียมกันของโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากร อาหาร น้ำสะอาด และพลังงาน จากภาวะประชากรโลกจะรุนแรงมากขึ้น ซึ่งปัญหาต่างๆ เหล่านี้จะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง การแก่งแย่ง และสงคราม โดยมีกลไกในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรมเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเผชิญหน้ากันของประเทศต่างๆ
 
ภาวะคุกคาม และความจำกัดต่างๆ ที่รอให้เราเผชิญในอีกไม่เกินห้าสิบปีข้างหน้าจึงนับว่าเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง และจำเป็นที่แต่ละสังคมต้องมียุทธศาสตร์ในการจัดการกับความเปลี่ยนแปลงเพื่อมุ่งไปสู่อนาคตที่ยั่งยืน ทั้งนี้ กระบวนการจัดการศึกษาทั้งการศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย ให้กับประชาชนในทุกภาคส่วนของสังคมเป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่สมควรได้รับการพิจารณาถึง ดังได้มีการระบุถึงความสำคัญจำเป็นของการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนไว้ในเอกสาร แผนปฏิบัติการ 21 (Agenda21, 2537) ว่า


"การศึกษาจะช่วยให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมและจริยธรรม การมีค่านิยม ทัศนคติ ทักษะและพฤติกรรมที่จะส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในการนี้การศึกษาควรให้ความรู้แก่ประชาชนไม่เฉพาะในเรื่องสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพและกายภาพเท่านั้น แต่รวมถึงคุณค่าของสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม และในเรื่องการพัฒนามนุษย์ (Human development) ด้วย"

เป้าหมายของการจัดการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมพลเมืองโลกยุคใหม่จึงต้องมุ่งเน้นไปที่การปรับเปลี่ยนวิธีคิด เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดแบบองค์รวม เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนการปลูกฝังจิตสำนึกใหม่ให้ตระหนักถึงความสำคัญของความสัมพันธ์ในลักษณะพึ่งพากันและกัน ระหว่างสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางสังคม ชุมชนเมืองและชุมชนชนบท สังคมที่มีความมั่งคั่งร่ำรวยและสังคมที่ยากจน สังคมอุตสาหกรรมและสังคมเกษตรกรรม รวมไปจนถึงความสมดุลระหว่างสังคมวัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมืองและสิ่งแวดล้อม กรอบแนวคิดดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงองค์รวมของจิตสำนึกใหม่เพื่อความยั่งยืนที่ครอบคลุมมิติต่างๆในการพัฒนา และตั้งอยู่บนพื้นฐานของค่านิยมหลัก 4 ประการ ได้แก่




1. มิติด้านสิ่งแวดล้อม: ค่านิยมการอนุรักษ์
2. มิติด้านเศรษฐกิจ: ค่านิยมด้านการพัฒนาที่เหมาะสม
3. มิติด้านสังคม: ค่านิยมด้านสันติภาพ ความเท่าเทียมกัน และสิทธิมนุษยชน
4. มิติด้านการเมือง: ค่านิยมประชาธิปไตย


จากการนำเสนอข้อมูลข้างต้น ผู้เขียนได้นำกรอบแนวคิดดังกล่าวมาวิเคราะห์เพิ่มเติมร่วมกับเอกสารปฏิญญาโลก (The Earth Charter) ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญที่จัดทำขึ้นโดย the Earth Charter International Council เครือข่ายประชาสังคมระดับนานาชาติประกอบบุคลากรทั้งภาครัฐ เอกชน นักวิชาการ นักวิจัย และองค์กรพัฒนาเอกชน ที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา ทั้งนี้เอกสารปฏิญญาโลกได้ให้หลักการทั่วไปในการทำงานที่ควรขับเคลื่อนทั้งในระดับบุคคล องค์กร สถาบัน และเครือข่ายประชาสังคม ไว้ 4 ประการ คือ

1. การให้ความเคารพและใส่ใจต่อชุมชนแห่งชีวิต
2. ความสมบูรณ์มั่งคั่งของระบบนิเวศ
3. ความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม และ
4. ประชาธิปไตย การไม่ใช้ความรุนแรง และสันติภาพ

จากการศึกษาเอกสารในเบื้องต้น ผู้เขียนใคร่ขอสรุปประเด็นหลักเกี่ยวกับจิตสำนึกใหม่ 10 ประการ ที่ควรได้รับการปลูกฝังและพัฒนาให้เกิดขึ้นแก่พลเมืองตามแนวคิดของการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ประกอบด้วย

1. ความห่วงใยและมุ่งมั่นที่จะปกป้องรักษาสิ่งแวดล้อม
2. การผลิตและบริโภคอย่างเหมาะสม และพอเพียง
3. การใช้ทรัพยากรและการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ
4. การยอมรับความแตกต่าง และความหลากหลายทางวัฒนธรรม
5. การยอมรับในสิทธิมนุษยชนของคนกลุ่มต่างๆ
6. การใช้เหตุผลและกระบวนการประชาธิปไตยในการตัดสินใจ
7. การไม่ใช้ความรุนแรงในการจัดการความขัดแย้ง
8. การประนีประนอม และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
9. ความยุติธรรม และความเป็นธรรม
10. การมีส่วนร่วมอย่างจริงจังในการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม


ในกระบวนการปลูกฝังและพัฒนาจิตสำนึกใหม่ทั้ง 10 ประการข้างต้น แม้จะเป็นหน้าที่หลักของหน่วยงานและสถาบันที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดการศึกษา แต่การเปิดโอกาสให้ภาคประชาสังคมที่มีความเกี่ยวข้องได้มีส่วนสนับสนุน และร่วมขับเคลื่อนให้เกิดการเชื่อมโยงแนวคิดดังกล่าวจาก “ทุกระบบการศึกษาสู่ทั้งระบบของสังคม” จนเป็น “ส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตของทุกผู้คน” เป็นประเด็นที่สมควรอย่างยิ่งที่จะมีการถกเถียงหารือเพื่อเร่งดำเนินการต่อไปในอนาคต




...................................................................................


เอกสารประกอบการเรียบเรียง

มานพ เมฆประยูรทอง (แปล). แผนปฏิบัติการ 21 เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. กระทรวงการต่างประเทศ. กรุงเทพฯ (2537)


Earth Charter International. The Earth Charter Initiative. http://www.earthcharter.org/ (December 2007) SCIENTIFIC AMERICAN. Crossroads for Planet Earth. SCIENTIFIC AMERICAN, INC., New York, U.S.A. (2005)


Teaching and Learning for a Sustainable Future: A Multimedia Teacher Education Program. UNESCO. http://www.unesco.org/education/tlsf/ (December 2007)


..................................................................


ที่มา


อรรถพล อนันตวรสกุล. “มุ่งสู่ความยั่งยืน: จิตสำนึกใหม่เพื่ออนาคตที่ดีกว่า”. เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย ด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย. สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติและตลาดนัดคุณธรรม ครั้งที่ 3 (25-27 มกราคม 2551)

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2553

แนะนำเครือข่าย EESD Network Thailand

เครือข่ายสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ประเทศไทย (EESD Network Thailand) เป็นเครือข่ายนักสิ่งแวดล้อมศึกษา ครู นักการศึกษา นักเรียน นิสิตนักศึกษา นักวิชาการ และผู้ที่สนใจในการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Environmental Education for Sustainable Development)

เครือข่ายฯ ได้รับการริเริ่มขึ้นจากการประชุมปฏิบัติการเพื่อขยายความร่วมมือเครืิอข่ายที่ปรึกษาทางวิชาการ โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Eco-School) ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดย กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (DEQP: Department of Environmental Quality and Promotion, MONRE: Ministry of Natural Resource and Environment)

สมาชิกของเครือข่าย ประกอบคณะนักวิชาการซึ่งทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางวิชาการ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๑ จำนวน ๔ ท่าน จาก ๔ สถาบัน ได้แก่

๑. รศ.ประสาน ตังสิกบุตร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
๒. ผศ.ดร.เยาวนิจ กิตติธรกุล คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
๓. ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๔. อ.สันติภาพ ศิริวัฒนไพบูลย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี

และคณะนักวิชาการ ที่แสดงความสนใจเข้าร่วมเป้นเครือข่ายที่ปรึกษาวิชาการเพิ่มเติม ในปี ๒๕๕๓ จำนวน ๘ ท่าน จาก ๗ สถาบัน ได้แก่

๑. ผศ.ดร.บุญเชิด หนูอิ่ม คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
๒. ผศ.รณิดา ปิงเมือง คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
๓. ดร.กาญจนา เชียงทอง สำนักงานวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี
๔. ดร.อดิศักดิ์ สิงห์สีโอ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
๕. อ.ธันวา ใจเที่ยง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎกาฬสินธุ์
๖. อ.สุภาดา ขุนณรงค์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี
๗. อ.สุรีรัตน์ เทมวรรธน์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี
๘. อ.จริยาภรณ์ มาสวัสดิ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยร มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา

เครือข่ายยังได้รับการสนับสนุนการทำงานจากนักวิชาการ นักการศึกษา และคณะทำงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการประชุม และจะร่วมเป็นเครือข่ายในการทำงานร่วมกันเพื่อผลักดันและเสริมพลังการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น โดยมีรายชื่อดังต่อไปนี้

๑. คุณสาวิตรี ศรีสุข กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
๒. คุณนันทวัน เหล่าฤทธิ์ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
๓. คุณโสภิต ศรีศาสตร์ธนมาศ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
๔. คุณจีระนันท์ ชะอุ่มใบ สมาคมสร้างสรรค์ไทย (ตาวิเศษ)
๕. คุณตุ๊กตา ใจหาญ สมาคมสร้างสรรค์ไทย (ตาวิเศษ)
๖. คุณภูวดล น้ำดอกไม้ กองทุนสัตว์ป่าโลก (WWF, Thailand)

ทั้งนี้เครือข่ายจะได้เชิญชวนคุณครู กลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษา นักวิชาการ นักสิ่งแวดล้อมศึกษา และผู้ที่สนใจ จากหน่วยงานต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมต่อไป

เครือข่ายมุ่งหวังให้บลอกแห่งนี้เป็นพื้นทีเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social network) สำหรับการสื่อสารข้อความ ความคิด และเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานสิ่งแวดล้อมที่เปิดกว้างสำหรับทุกภาคส่วน ผู้ที่สนใจจะนำเสนอบทความ ข้อเขียน งานเขียนที่เรียบเรียงจากประสบการณ์การทำงาน สามารถส่งไฟล์ข้อมูลมาได้ที่ eesd_network_thailand@hotmail.com